ธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่นคืออะไร

ธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่นตั้งขึ้นโดยโองการของพระผู้เป็นเจ้า พระบาฮาอุลลาห์ทรงลิขิตไว้ในพระมหาคัมภีร์ ?คีตาบี-อัคดัส? ว่า ?พระผู้เป็นเจ้าทรงพระประสงค์ให้ทุกท้องถิ่นมีธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่น (ในอนาคตจะเรียกว่า ?ธรรมสภายุติธรรมแห่งท้องถิ่น?) ธรรมสภานี้ประกอบด้วยคณะกรรมการ 9 ท่าน พระบาฮาอุลลาห์ทรงตรัสว่า ?กรรมการทั้ง 9 ท่านนี้คือบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจจากพระผู้เป็นเจ้าให้เป็นผู้ดูแลศาสนาและชุมชน จำเป็นที่กรรมการทุกคนจะต้องปรึกษาหารือกันเพื่อดำเนินศาสนกิจและดูแลชุมชนบาไฮ นี่คือคำบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า?

เนื่องจากไม่มีนักบวชในศาสนาบาไฮ ดังนั้นในทุกเมืองและทุกหมู่บ้าน จะมีคณะกรรมการแห่งท้องถิ่นที่ได้ผ่านการเลือกตั้ง 9 ท่านให้เป็นผู้รับผิดชอบศาสนกิจในชุมชนนั้น เราเรียกธรรมสภานี้ว่า ?ธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่น?

ความสำคัญของธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่น

ธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่นเป็นพื้นฐานระเบียบโลกใหม่ของพระบาฮาอุลลาห์ เป็นฐานซึ่งธรรมสภายุติธรรมแห่งสากลตั้งอยู่ พระอับดุลบาฮาได้กล่าวไว้ว่า ?การดำเนินศาสนกิจของธรรมสภาบาไฮอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของพระผู้เป็นเจ้า จะมีอานิสงค์ใดเหนือกว่านี้อีก? ธรรมสภาบาไฮเหล่านี้เปรียบเสมือนเป็นดวงประทีปที่ยิ่งใหญ่และเป็นอุทยานสวรรค์ซึ่งส่งกลิ่นหอมไปทั่วอาณาเขต ธรรมสภาบาไฮเป็นแหล่งกำเนิดแห่งความรู้และเป็นสายธารแห่งชีวิต ในขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งกำเนิดของความเจริญตลอดกาล?

ธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่นคือสายธารแห่งความรักและความยุติธรรม

พระบาฮาอุลลาห์คือพระศาสดาของยุคนี้ พระองค์ทรงบัญญัติธรรมสวรรค์เพื่อให้โลกนี้มีแต่ความรักและความยุติธรรม ธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่นคือผู้ให้ความรักและความยุติธรรมแก่ชุมชน

ธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่นจะต้องทำอะไรบ้าง?

คณะกรรมการธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่นเป็นผู้มีเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจจากชุมชนบาไฮ แต่ในขณะเดียวกันกรรมการธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่นก็มีภาระหน้าที่ยิ่งใหญ่ กล่าวคือกรรมการทุกท่านจะ

1) ศึกษาศาสนาให้มากขึ้น

2) คิดอยู่เสมอว่าธรรมสภาบาไฮควรทำงานอย่างไรให้ศาสนาและชุมชนก้าวหน้า

3) ควรเข้าร่วมประชุมธรรมสภาทุกครั้ง และให้ความคิดเห็นของตนต่อธรรมสภา

จะเลือกตั้งคณะกรรมการธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่นเมื่อไร และเลือกอย่างไร?

เลือกเมื่อไร? ท้องถิ่นใดก็ตามที่มีบาไฮศาสนิกชนชายหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไปและมีจำนวนตั้งแต่ 9 คนขึ้นไป ท้องถิ่นนั้นสามารถจัดตั้งธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่นได้ตามปกติในปีบาไฮศักราชหนึ่งจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการธรรมสภาเพียงวันเดียวคือภายในระหว่างเวลาตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกของวันที่ 20 เมษายน ไปจนถึงเวลาดวงอาทิตย์ตกของวันที่ 21 เมษายน ท้องถิ่นที่มีธรรมสภาบาไฮอยู่แล้วก็ต้องเลือกใหม่ภายในระหว่างวันเวลาดังกล่าวเช่นกัน

เลือกอย่างไร? ในวันเลือกตั้ง บาไฮศาสนิกชนในท้องถิ่นที่มีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไปจะได้รับบัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง หลังจากที่ได้อธิษฐานแล้ว ทุกท่านจึงเขียนชื่อบาไฮศาสนิกชนในท้องถิ่น 9 ท่านที่ตนคิดว่ามีความสามารถเป็นกรรมการธรรมสภาบาไฮเพื่อรับใช้ศาสนาและชุมชนได้ สำหรับผู้ลงคะแนนที่เขียนหนังสือไม่ได้ จะขอเยาวชนช่วยเขียนให้

ในระหว่างการเลือกตั้ง ห้ามมิให้ปรึกษาหารือกันหรือบอกแก่กันว่าจะเลือกผู้ใด หลังจากที่ทุกคนส่งบัตรเลือกตั้งแล้ว จะเริ่มนับคะแนน ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดเรียงลำดับลงมา 9 ท่านแรกจะเป็นคณะกรรมการธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่น

คณะกรรมการธรรมสภาบาไฮจะต้องทำอะไรบ้างหลังจากที่ได้รับเลือกแล้ว

หากว่าบาไฮศานิกชนที่ได้รับเลือกตั้งอยู่ครบ ณ สถานที่เลือกตั้ง ผู้ที่ได้รับคะแนนเลือกตั้งสูงสุดควรจะเลือกประชุมคณะกรรมการธรรมสภาทันที แต่ถ้าหากปรากฏว่ากรรมการอยู่ไม่ครบ 9 ท่านในวันนั้น ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดจะเป็นผู้นัดประชุมในวาระและโอกาสที่สะดวกสำหรับกรรมการทุกคนต่อไป

คณะกรรมการควรจะทำอะไรบ้างในการประชุมครั้งแรก?

อันดับแรก หลังจากที่ได้อธิษฐานเปิดประชุมแล้ว กรรมการผู้ที่ได้รับคะแนนเลือกตั้งสูงสุดจะขอให้คณะกรรมการเลือกประธานธรรมสภา คะแนนที่ถือว่าเป็นมติส่วนใหญ่คือ ตั้งแต่ 5 คะแนนขึ้นไป ถ้าต่ำกว่านี้ต้องเลือกตั้งใหม่ การเลือกนี้ใช้คะแนนลับ กล่าวคือกรรมการทุกท่านจะได้รับกระดาษเปล่าให้เขียนชื่อกรรมการท่านใดท่านหนึ่งที่คิดว่าทำหน้าที่ประธานได้ดีที่สุด

อันดับสอง เมื่อเลือกตั้งได้ผู้เป็นประธานแล้ว ประธานจะทำหน้าที่ดำเนินการเลือกตั้งรองประธาน เลขานุการและเหรัญญิกต่อไปตามลำดับ วิธีการนับคะแนนผู้ที่ได้รับตำแหน่งก็เหมือนกับเมื่อเลือกตั้งประธาน คือแต่ละตำแหน่งจะต้องได้คะแนนตั้งแต่ 5 คะแนนขึ้นไป

อันดับสาม เลขานุการแห่งธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่นจะทำหน้าที่บันทึกการประชุมต่อจากนั้นจึงส่งบันทึกการประชุมตลอดจนรายงานผลการเลือกตั้งเจ้าหน้าที่ทั้ง 4 ตำแหน่งและรายนามกรรมการอีก 5 ท่านให้แก่ธรรมสภาบาไฮแห่งชาติ บันทึกการประชุมนี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นบันทึกเกี่ยวกับการตัดสินใจ การปฏิบัติ ตลอดจนข้อเสนอแนะของธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่น

คุณลักษณะของคณะกรรมการธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่น

1) คณะกรรมการธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่นต้องไม่ห่างเหินกัน แต่ต้องมีความรักใคร่กลมเกลียวกันอย่างแน่นแฟ้นและแสดงออกซึ่งความสามัคคี เพราะเขาเป็นคลื่นในทะเลเดียวกัน ?เป็นหยดน้ำของลำน้ำเดียวกัน เป็นดวงดาวบนฟากฟ้าเดียวกัน เป็นแสงของดวงอาทิตย์ดวงเดียวกัน หากปราศจากความกลมเกลียวในความคิดและความสามัคคี ชุมชนนั้นจะแตกสลายและงานของธรรมสภาบาไฮก็จะหยุดชงักลง

2) ขณะเมื่อกรรมการประชุมร่วมกัน การปรึกษาหารือต้องให้เป็นไปแต่เรื่องทางธรรมในการสั่งสอนมนุษย์ อบรมเด็ก ช่วยเหลือผู้ยากไร้

ธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่นต่างๆ และธรรมสภาบาไฮแห่งชาติเป็นศิลาพื้นฐานแห่งความยุติธรรมของโลกในอนาคต ขอให้ท่านเข้าใจว่า การบริหารศาสนกิจของพระผู้เป็นเจ้ามิใช่อยู่ที่การปกครองอย่างเผด็จการ แต่ต้องคารวะกันฉันท์มิตร มิใช่การใช้อำนาจโดยเอาแต่ใจ แต่ต้องมีน้ำใจในการปรึกษาหารือกันอย่างเปิดเผย และกลมเกลียวรักใคร่ ศาสนาบาไฮมีเจตนารมณ์ที่ทำให้หลักการของความกรุณาและความยุติธรรมผสมกลมกลืนกันได้

หน้าที่และความรับผิดชอบของธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่น

1) หน้าที่อันดับแรกคือ เผยแพร่ศาสนาและส่งเสริมให้กำลังใจบาไฮศาสนิกชน ประกาศข่าวการเสด็จมาของพระบาฮาอุลลาห์ ไม่แต่เฉพาะในหมู่ญาติมิตร ในหมู่บ้านของตนเองเท่านั้น แต่ควรออกไปประกาศข่าวนี้ให้ประชาชนในหมู่บ้านอื่นๆ ทราบด้วย

2) ต้องส่งเสริมให้เกิดความรักและความสามัคคีในชุมชน อาจทำได้ด้วยการประชุมเพื่ออธิษฐานและศึกษาพระธรรมของพระบาฮาอุลลาห์ร่วมกัน หากเป็นไปได้ควรจัดอธิษฐานและศึกษาพระธรรมในตอนเช้าตรู่ก่อนออกไปปฏิบัติภารกิจประจำวัน ทั้งนี้เพราะว่าร่างกายเราต้องการอาหารฉันใด จิตวิญญาณก็ต้องการอาหารฉันนั้น

3) ธรรมสภาจักต้องพยายามหาทางช่วยเหลือคนยากจน คนป่วย คนพิการ เด็กกำพร้า และหญิงหม้ายโดยไม่คำนึงถึงชั้นวรรณะหรือชาติ ศาสนา เพราะมนุษย์ทั้งหลายล้วนเป็นพี่น้องกัน

4) จัดชั้นเรียนภาคจริยธรรม ศิลปะ และศีลธรรมแก่เด็ก เยาวชนและสตรี

5) ในปีหนึ่งธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่นจักต้องจัดงานฉลองสิบเก้าวัน 19 ครั้ง และจัดงานที่ระลึกวันสำคัญของศาสนาใน 9 โอกาสดังต่อไปนี้

*หมายเหตุ* การนับวันของศาสนาบาไฮ เริ่มภายหลังดวงอาทิตย์ตกของวันวาน และสิ้นสุดลงเมื่อดวงอาทิตย์ตกดิน

ในปีหนึ่งมีวันสำคัญของศาสน 9 วัน เป็นหน้าที่ของธรรมสภาบาไฮท้องถิ่นที่จะต้องจัดงานที่ระลึก 9 โอกาสดังนี้

เทศกาลอัยยัมมีฮา อยู่ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ จนถึง 1 มีนาคมของทุกปี บาไฮศาสนิกชนใช้โอกาสนี้เตรียมตัวถือศีลอด บำเพ็ญกุศลและมอบของขวัญแก่กัน

วันถือศีลอด ถือ 19 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม จนถึงวันที่ 21 มีนาคมของทุกปี ?

———————————————————————————————————————————–

เท่าที่กล่าวมาแล้ว คือหน้าที่ของธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่น 5 ข้อ แต่ยังมีอีก 5 ข้อคือ

6) จัดตั้งเงินทุนส่วนท้องถิ่นและกระตุ้นเตือนให้บาไฮศาสนิกชนช่วยกันบริจาค

7) ธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่นจะต้องติดต่อกับ

????ก) คณะกรรมการเผยแพร่ศาสนาประจำภาค

????ข) ธรรมสภาบาไฮแห่งชาติ

????ค) ธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่นอื่นๆ

ทั้งนี้เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร กิจกรรมและความสำเร็จซึ่งกันและกัน

8) ทันที่ที่ธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่นเห็นว่าตนแข็งแรงดีแล้ว ควรที่จะปรึกษาหารือกับคณะกรรมการเผยแพร่ศาสนาประจำภาค เพื่อเสนอตนเข้าช่วยเหลือธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่นที่ยังอ่อนแออยู่ให้แข็งแรงขึ้น

9) ธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่นทุกแห่งควรทราบแผนงานที่สภายุติธรรมแห่งสากลจัดให้แก่ประเทศของตน ทั้งนี้เพื่อจะได้ช่วยทำงานให้แผนงานดังกล่าวสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี นอกเหนือจากนี้ธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่นควรจะอธิษฐานให้แก่ความสำเร็จของแผนงานทั้งหมดด้วย

10) สภายุติธรรมแห่งสากลได้สรุปหน้าที่สำคัญของธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่นโดยย่อๆ ดังต่อไปนี้

?????10.1) ดูแลความเป็นอยู่ของชุมชน

?????10.2) เสริมสร้างความสมัครสมานสามัคคีให้เกิดในชุมชน

?????10.3) วางแผนและแนะนำการเผยแพร่ศาสนาตลอดจนขยายโครงการเผยแพร่ศาสนา

?????10.4) ป้องกันศาสนาจากผู้คิดร้าย

?????10.5) จัดงานฉลองสิบเก้าวัน งานครบรอบวันสำคัญของศาสนาและงานประชุมสังสรรค์ทั่วไป

?????10.6) เชิญให้บาไฮศาสนิกชนในท้องถิ่นแสดงความคิดเห็น

?????10.7) รักษาความปลอดภัย ให้คำแนะนำและการศึกษาแกเด็กและเยาวชน

?????10.8) หาโอกาสร่วมงานสังคมสงเคราะห์กับหน่วยงานอื่นๆ

?????10.9) เตือนให้บาไฮศาสนิกชน

ก) ศึกษาพระธรรม

ข) ดำเนินชีวิตแบบบาไฮศาสนิกชน

ค) เผยแพร่ศาสนา

ง) บริจาคให้แก่กองทุน

จ) ร่วมงานกิจกรรมของศาสนาในชุมชน

ฉ) ปรึกษาและขอคำแนะนำจากธรรมสภาบาไฮถ้ามีปัญหาที่แก้ไขด้วยตนเองไม่ได้

————————————————————————

บทที่ 3

หน้าที่ของคณะกรรมการธรรมสภาบาไฮแห่งท้องถิ่น

บัดนี้ เราก็ได้ทราบถึงความสำคัญของธรรมสภาบาไฮแล้ว ดังนั้นจึงถือว่าเป็นผู้ที่ผ่านการเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการธรรมสภา จะต้องระลึกเสมอว่าตนมีภาระหน้าที่ดังต่อไปนี้

1) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนและอดทน เปิดเผย มีความยุติธรรม สุภาพ และอุทิศตนให้แก่ศาสนา ทั้งนี้เพื่อชุมชนจะได้ไว้วางใจช่วยเหลือและมีความเคารพรักใคร่

2) การเป็นคณะกรรมการธรรมสภาบาไฮมิใช่หมายความว่าจะมีสิทธิขาด มีอำนาจเพียงฝ่ายเดียว แต่ควรระลึกเสมอว่า การบริหารศาสนกิจและชุมชนจะต้องกระทำด้วยการปรึกษาหารือ กรรมการทุกท่านจักต้องไม่คิดว่าตนมีฐานะเหนือกว่าบาไฮศาสนิกชนอื่นๆ และต้องไม่สำคัญตนผิดว่าตนคือคณะผู้นำศาสนาเพียงคณะเดียว

3) คณะกรรมการธรรมสภาบาไฮจะต้องไม่ไว้ตัว ไม่มีลับลมคมในและไม่แสดงอิทธิพลเหนือชุมชน

4) ในการประชุมกรรมการธรรมสภาบาไฮ กรรมการทุกท่านจักต้องสลัดความรู้สึกส่วนตัว เช่น ความชอบ ความไม่ชอบ ความรู้สึกเห็นแก่ตัวและอคติทั้งปวงทิ้งเสีย ตั้งใจหาวิถีทางที่จะก่อประโยชน์สุขแก่ชุมชนบาไฮ

5) หลังจากการปรึกษาหารือและสอบถามความเห็นแล้ว กรรมการธรรมสภาบาไฮทุกท่านควรจะยึดมติส่วนใหญ่

6) คณะกรรมการธรรมสภาบาไฮย่อมไม่ดูหมิ่นความคิดเห็นของผู้อื่น

7) กรรมการธรรมสภาบาไฮมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนอย่างเต็มที่ แต่ไม่ควรจะยึดมั่นในความคิดของตนฝ่ายเดียว กรรมการควรจะพิจารณาความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างถี่ถ้วน แล้วจึงออกเสียงลงคะแนน

8) การทำงานของธรรมสภาบาไฮส่วนท้องถิ่นจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อคณะกรรมการเข้าประชุมครบ 9 ท่าน ดังนั้นคณะกรรมการทุกท่านจึงควรพยายามเข้าประชุมทุกครั้ง ผลที่จะติดตามมาก็คือ กรรมการทุกท่านจะได้รับทราบถึงสภาพและสถานการณ์ของชุมชนบาไฮ

9) กรรมการธรรมสภาบาไฮทุกท่านควรพยายามศึกษาพระธรรมและศึกษาระเบียบบริหารศาสนาบาไฮ เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์และความสามารถ ควรค่าแก่การเป็นกรรมการ

10) กรรมการธรรมสภาบาไฮทุกท่านควรดำเนินชีวิตตามแบบอย่างบาไฮศาสนิกชน ทั้งนี้เพราะหากว่าชีวิตส่วนตัวของเราเป็นบาไฮที่ดีแล้ว เราย่อมเป็นบาไฮที่ดีในฐานะของกรรมการธรรมสภาบาไฮด้วย

11) เจ้าหน้าที่ของธรรมสภาบาไฮ กล่าวคือ ประธาน รองประธาน เลขานุการและเหรัญญิก มีหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นพิเศษ ดังนั้นเราควรที่จะเรียนรู้ถึงหน้าที่เหล่านั้น

หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ธรรมสภาบาไฮ

ประธาน มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

1) อยู่ร่วมประชุมธรรมสภา

2) ในการประชุมธรรมสภา ประธานมีหน้าที่ดูแลให้มีการพิจารณาหัวข้อการประชุมทุกเรื่อง ควบคุมการประชุมให้กรรมการทุกท่านได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ปราศจากการถูกขัดจังหวะจากกรรมการท่านอื่น

3) การเป็นประธานมิได้หมายความว่า มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นมากกว่ากรรมการท่านอื่น ประธานมีสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนเช่นเดียวกับกรรมการท่านอื่นๆ อีก 8 ท่าน

4) ควบคุมให้มีการพิจารณาปัญหาในขอบเขต ไม่ออกนอกลู่นอกทาง

5) หลังจากที่กรรมการทุกท่านได้ออกความเห็น และทุกคนมีความกระจ่างในปัญหาที่กำลังพิจารณาแล้ว ประธานจะให้กรรมการทุกท่านออกคะแนนเสียงในญัตติ ประธานจะขอให้ผู้ที่เห็นด้วยในญัตตินั้นยกมือขึ้น หากมติส่วนใหญ่เห็นด้วยแล้ว ธรรมสภาก็จะได้มติที่ประชุมเพื่อดำเนินการต่อไป

6) ประธานมีหน้าที่เตือนให้เลขานุการบันทึกมติของที่ประชุม

7) หากการประชุมนัดใดที่ประธานคิดว่าไม่สามารถมาร่วมประชุมได้ ประธานควรจะแจ้งต่อเลขานุการล่วงหน้า เพื่อแจ้งให้รองประธานเตรียมตัวทำหน้าที่ในที่ประชุม

หน้าที่ของรองประธาน

1) ทำหน้าที่ดำเนินการประชุมแทนประธาน ถ้าประธานไม่สามารถจะเข้าประชุมได้ในการประชุมนัดนี้ หรือถ้าประธานมีเหตุจำเป็นต้องมาช้า เช่น มาสายเกิน 15 นาทีและถ้ามีกรรมการครบองค์ประชุม (ตั้งแต่ 5 ท่านขึ้นไป) รองประธานมีหน้าที่เรียกประชุม และดำเนินการประชุมจนกว่าประธานจะมาถึง

2) ศึกษาหน้าที่ของประธานดังกล่าวข้างต้น เพื่อจะสามารถดำเนินการประชุมได้อย่างเรียบร้อยเมื่อถึงคราวจำเป็น

หน้าที่ของเลขานุการ

1) เตรียมหัวข้อประชุม

2) แจ้งให้กรรมการทราบล่วงหน้าว่า จะมีการประชุมเมื่อไร ที่ไหน ตามปกติในการประชุมครั้งแรก ที่ประชุมจะตกลงกันว่าจะมีการประชุมแบบสามัญ อย่างสม่ำเสมอ เมื่อไร และประชุมที่ไหน

3) จดบันทึกมติที่ประชุม (มีตัวอย่างการทำบันทึกการประชุมในบทต่อไป)

4) นำบันทึกการประชุมทุกครั้งมาที่ประชุม ในกรณีต้องการการอ้างอิงปัญหาและมติของที่ประชุมครั้งที่แล้วมา

5) ตอบจดหมายตามที่ที่ประชุมมีมติ

6) เก็บรักษานามและที่อยู่ของบาไฮศาสนิกชนในท้องถิ่นของตน

7) ลงรายชื่อบาไฮศาสนิกชนใหม่ในทะเบียนบาไฮ

8) แจ้งรายนามและจำนวนบาไฮในท้องถิ่นต่อธรรมสภาแห่งชาติ แจ้งจำนวนบาไฮศาสนิกชนใหม่และแจ้งเปลี่ยนที่อยู่ถ้ามีการโยกย้าย

9) จดบันทึกข้อเสนอของบาไฮศาสนิกชนในงานฉลองสิบเก้าวัน และจัดเข้าหัวข้อการประชุมเพื่อพิจารณาในการประชุมธรรมสภาครั้งต่อไป

หน้าที่ของเหรัญญิก

1) กระตุ้นเตือนให้บาไฮศาสนิกชนบริจาคให้เงินทุน

2) ทำบัญชีรายรับและรายจ่ายของธรรมสภา

3) รับเงินบริจาคและออกใบเสร็จให้ผู้บริจาค

4) จ่ายเงินตามมติของธรรมสภา

5) รายงานฐานะทางการเงินในที่ประชุม และในงานฉลองสิบเก้าวัน

6) เก็บรักษาใบเสร็จค่าใช้จ่ายต่างๆ

7) ทำบัญชีส่งธรรมสภาตอนปลายปี เพื่อธรรมสภาจะได้ให้ผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจต่อไป

8) สรุปฐานะทางด้านการเงินต่อชุมชนในท้องถิ่นในวันริดวาน (21 เมษายน ของทุกปี)

บัญชี

ตัวอย่างการจัดเตรียมหัวข้อการประชุม

(สำหรับเลขานุการ)

1) อธิษฐานเปิดประชุม

2) อ่านบันทึกการประชุมครั้งที่แล้ว

3) บันทึกงานที่ยังไม่ได้ปฏิบัติตามมติการประชุมครั้งที่แล้ว และบันทึกข้อแนะนำเพิ่มเติม

4) ปรึกษาแผนงาน

????- ติดตามแผนงานที่ได้ปฏิบัติไปแล้ว

????- วางแผนงานลำดับต่อไป

5) งานเผยแพร่ศาสนาและการอบรมให้ความรู้อย่างลึกซึ้งในศาสนา

6) จัดเตรียมชั้นเรียนสตรี

7) จัดเตรียมชั้นเรียนสำหรับเด็ก

8) เหรัญญิกรายงานฐานะทางการเงิน

9) เรื่องศูนย์กลางศาสนาบาไฮ

10) การจัดงานฉลองสิบเก้าวันเดือนต่อไป

11) จดหมายต่างๆ

12) เรื่องอื่นๆ

บันทึกการประชุม

เลขานุการควรจดบันทึกการประชุมอย่างเป็นระเบียบ แต่ละหัวข้อควรขีดเส้นใต้ ระบุครั้งที่ประชุมตามลำดับ อธิบายรายละเอียดติดตามด้วยมติที่ประชุม

ในการบันทึกการประชุม ไม่จำเป็นต้องระบุชื่อผู้เสนอญัตติและผู้สนับสนุน ในการประชุมครั้งต่อไปจะอ่านบันทึกการประชุม หากข้อใดไม่ถูกต้อง จะบันทึกแก้ไข

ตัวอย่างบันทึกการประชุม (สำหรับเลขานุการ)

บันทึกการประชุมของธรรมสภาบาไฮท้องถิ่นบ้านดงกล้วยครั้งที่ 5

ประชุมวันที่ 1 พฤษภาคม 2536

ณ ศูนย์กลางศาสนาบาไฮบ้านดงกล้วย

———————————————————————————————————————————–

กรรมการผู้เข้าร่วมประชุม

1) นางมี ทองสุข

2) นายอก ส่งเสริม

3) น.ส.จิต ทวีสุข

4) นายคณิต สุขสมบูรณ์

5) นายพิชัย จิตชอบค้า

6) นางละไม เกิดดงกล้วย

7) น.ส.พร เกิดดงกล้วย

8) นายใจ ส่งเสริม

กรรมการผู้ขาดการประชุม

คนที่ 9 คือ นายสี ทองสุข ไม่สามารถมาประชุมได้เพราะป่วย

1) อ่านบันทึกการประชุมครั้งที่แล้ว

ที่ประชุมรับรองบันทึกการประชุมครั้งที่ 4 วันที่ 27 เมษายน 2536

2) กำหนดการประชุมครั้งต่อไป

ที่ประชุมตกลงให้มีการประชุมครั้งต่อไปในวันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน 2536 ณ ศูนย์กลางศาสนาบาไฮบ้านดงกล้วย

3) การเผยแพร่ศาสนาและการอบรมให้มีความลึกซึ้งในศาสนา

3.1) นางสาวกรุณา เกิดบ้านดงกล้วยขอเข้าพบธรรมสภาเพื่อขอให้เด็กบาไฮมีส่วนในการร่วมร้องเพลงและแสดงละครในงานฉลองสิบเก้าวันในวันที่ 16 พฤษภาคมนี้

มติที่ประชุม ธรรมสภาจะแจ้งให้ผู้จัดรายการงานฉลองสิบเก้าวันแทรกรายการแสดงของเด็กในงาน

3.2) นางสาวกรุณาขอให้ธรรมสภาประชาสัมพันธ์การอบรมบาไฮที่จะทำหน้าที่เป็นครูสอนเด็ก โดยมีระยะการอบรม 3 วัน คือระหว่างวันที่ 15-17 พฤษภาคม ที่ศูนย์กลางศาสนาบาไฮบ้านดงกล้วย สามารถรับผู้เข้าอบรมได้อย่างมากชั้นละ 25 คน

มติที่ประชุม 1) เลขานุการธรรมสภาจะส่งหนังสือเชิญบาไฮเข้ารับการอบรม และเลขานุการจะ ?ติดต่อบาไฮอีกครั้งหนึ่งทางโทรศัพท์หรือเดินทางไปหาเพื่อขอรับทราบจำนวนผู้เข้ารับการอบรมเพื่อจะสามารถจัดเตรียมสถานที่ เอกสารและที่พักให้ต่อไป

2) ขอให้กรรมการทุกท่านช่วยทำหน้าที่ประกาศการอบรมครั้งนี้กับเพื่อนบ้านของตน

3) ประกาศข่าวการอบรมนี้ในข่าวสารฉลองสิบเก้าวันของบ้านดงกล้วย

3.3) นายสะอาดแจ้งรายนามบาไฮใหม่ซึ่งเป็นบาไฮจากการแนะนำศาสนาของนายสะอาด และขอให้ธรรมสภาบันทึกรายชื่อบาไฮใหม่ในทะเบียนพร้อมทั้งส่งข่าวสารบาไฮและบทเรียนทางไปรษณีย์ให้

มติที่ประชุม เลขานุการจะให้พนักงานในศูนย์บาไฮบันทึกและจัดส่งข่าวสารและบทเรียน

3.4) นายสะอาดรายงานว่าจะจัดการอบรมผู้ที่จะเป็นครูเดินทางสอนศาสนาชุดต่อไปในระหว่างวันที่ 4-6 มิถุนายน 2536 รวม 3 วัน นายสะอาดขอทราบแผนงานของธรรมสภาว่า ต้องการไปเผยแพร่และอบรมศาสนาที่ท้องถิ่นใด เพื่อที่จะแจ้งให้ครูเดินทางสอนศาสนาทราบหลังเสร็จสิ้นการอบรม ทั้งนี้เพื่อช่วยให้แผนงานของธรรมสภาบรรลุผล

มติที่ประชุม 1) ตอบนายสะอาดว่า ธรรมสภาขอบคุณที่ช่วยอบรมครูเดินทางสอนศาสนา ซึ่งเป็นงานที่มีความสำคัญรีบด่วนสำหรับแผนงาน 3 ปี เพราะงานต่างๆ จะสำเร็จได้ด้วยพลังของบาไฮทั้งเก่าและใหม่ ซึ่งจะช่วยงานเผยแพร่และอบรมให้มีครูเพิ่มมากขึ้น

2) ธรรมสภาจะช่วยประชาสัมพันธ์ให้บาไฮเข้ารับการอบรม

3) ธรรมสภาแจ้งว่าท้องถิ่นที่จะไปเผยแพร่และอบรมต่อไปคือ บ้านดงหวาย และบ้านดอนน้อย

3.5) เนื่องจากในระยะนี้มีคนในหมู่บ้านป่วยด้วยโรคทางเดินอาหารเป็นจำนวนมาก ธรรมสภาบาไฮบ้านดงกล้วยมีแผนงานพัฒนาสภาพสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้าน เพื่อช่วยให้ชุมชนบ้านดงกล้วยตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความสะอาดของบริเวณบ้านและการรักษาสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวเพื่อจะได้ไม่เจ็บป่วย

มติที่ประชุม 1) ขอให้ธรรมสภาบาไฮแห่งประเทศไทยส่งบาไฮที่มีความรู้ทางด้านสาธารณสุขมูลฐานมาอบรมชาวบ้านและบาไฮ เพื่อจะได้เข้าใจความสำคัญของการรักษาความสะอาดบ้านเรือนและอาหาร กับทั้งเป็นการเพิ่มบุคลากรที่จะทำหน้าที่ในการไปช่วยประชาสัมพันธ์ที่หมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงต่อไป

4) เงินทุนธรรมสภาบ้านดงกล้วย

เหรัญญิกรายงานต่อที่ประชุมว่า ณ วันที่ 1 พฤษภาคม มีเงินคงเหลือยกมา 100 บาท ในระหว่างเดือนได้รับบริจาคจากศาสนิกชน 370.50 บาท รับจากงานฉลองสิบเก้าวัน 270 บาท รวมมีเงิน 740.50 บาท เงินจำนวนนี้ใช้จ่ายซื้อหนังสือสำหรับเด็กจากร้านค้าของศูนย์กลางศาสนาบาไฮบ้านดงกล้วย 70 บาท ใช้ค่าแสตมป์และเครื่องเขียน 100 บาท ค่าใช้จ่ายในการให้เยาวชนออกไปเผยแพร่ศาสนา 120 บาท และจ่ายบริจาคให้กองทุนบาไฮแห่งประเทศไทย 200 บาท รวมจ่ายทั้งสิ้น 490 บาท ดังนั้นจึงเหลือเงินสดยกไปเดือนมิถุนายน 250.50 บาท

มติที่ประชุม ให้เหรัญญิกรายงานฐานะทางการเงินต่อที่ประชุมในงานฉลองสิบเก้าวัน เหรัญญิกจะอธิบายเกี่ยวกับความสำคัญของการบริจาคให้เงินทุน พระบาฮาอุลลาห์ทรงตรัสว่า บาไฮศาสนิกชนที่สมบูรณ์ต้องปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน สอนศาสนาและบริจาคให้แก่กองทุน

5) การสร้างศาลาอบรมเด็กและสตรี

ด้วยนายสม สุจริต ประสงค์จะบริจาคที่ดินบ้านดงกล้วย หมู่ที่ 4 สำหรับสร้างศาลาอบรมเด็กและสตรีในหมู่บ้าน จำนวนเนื้อที่ 100 ตารางวา

มติที่ประชุม 1) ให้เลขานุการเขียนจดหมายถึงนายสม สุจริต ขอบคุณที่มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินให้ชุมชนใช้ประโยชน์

2) จัดตั้งคณะกรรมการก่อสร้างศาลาอบรมเด็กและสตรี คณะกรรมการประกอบด้วย

????1) นายน้อย ชำนาญช่าง

????2) นายนิคม สร้างเสริมสุข

????3) นายชิน จิตเที่ยง

????4) นายรัตน์ชัย ประกอบการ

????5) นายดี จิตเที่ยง

????คณะกรรมการนี้จะดำเนินการ

????1) ออกแบบปลูกสร้าง

????2) เขียนจดหมายขอรับบริจาควัสดุก่อสร้าง และขอรับบริจาคแรงงานบาไฮศาสนิกชนใน

????????ท้องถิ่นมาร่วมก่อสร้างศาลาหลังนี้

6) อธิษฐานปิดการประชุม

นางสาวจิต ??ทวีสุข

?????(เลขานุการ ผู้บันทึกการประชุม)

บทที่ 4

การปรึกษาหารือในศาสนาบาไฮ

พระบาฮาอุลลาห์ทรงตรัสว่า ?สรวงสวรรค์แห่งอัจฉริยะอันเป็นทิพย์สดใสสว่างไสวด้วยดวงดาราของการปรึกษาหารือและเมตตาธรรม จงหารือกันในทุกเรื่องเพราะการปรึกษาหารือกันนั้นเป็นแสงนำทางที่ให้วิถีทางสว่างเรืองรอง?

1) พลานุภาพแห่งพระวจนะของพระบาฮาอุลลาห์มีพลังสร้างให้มนุษย์เป็นคนรุ่นใหม่ ให้สังคมมนุษย์เป็น ????ระบบใหม่ พระบาฮาอุลลาห์ทรงตรัสว่า ระเบียบแบบแผนของโลกในยุคปัจจุบันนี้ไม่มีความสมบูรณ์

2) แม้กระทั่งรัฐสภาที่ได้ชื่อว่าดีที่สุดของโลกแล้วก็ตาม คนต่างพรรคต่างพวกกันต่างพยายามส่งเสริมอุดมการณ์และนโยบายฝ่ายตนให้เด่นเหนือฝ่ายอื่น ไม่สนใจแนวความคิดของฝ่ายอื่น ยึดอยู่กับความคิดเห็นของฝ่ายตนอย่างดื้อดึง

3) ส่วนการปรึกษาหารือกันในศาสนาบาไฮนั้นแตกต่างจากลักษณะที่กล่าวมาแล้ว คือ ประการแรกไม่มีระบบพรรคพวกในศาสนาบาไฮ กรรมการของธรรมสภาบาไฮแต่ละคนทำงานด้วยสำนึกที่รับผิดชอบตรงต่อพระผู้เป็นเจ้าและตามมโนธรรมของตนเท่านั้น กรรมการทุกคนจะต้องแสดงความคิดเห็นโดยอิสระเสรีเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังหยิบยกขึ้นมาปรึกษากัน แต่ในขณะเดียวกันต้องตั้งใจฟังความเห็นของกรรมการท่านอื่นด้วย และต้องไม่ยึดถือความคิดเห็นของตนเองเพียงฝ่ายเดียว หากกรรมการท่านอื่นแย้งความคิดเห็นของเรา เราจะต้องไม่รู้สึกสะเทือนใจ เป็นธรรมดาที่ทุกคนจะเห็นว่าความคิดเห็นของเรานั้นสำคัญ และตัวการที่ทำให้เราเฝ้ากล่าวย้ำความคิดเห็นของเราซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อให้คนอื่นยอมรับนั้นก็คือความเห็นแก่ตัวนั่นเอง วิธีการเช่นนี้ไม่ใช่วิถีทางของศาสนาบาไฮ พระอับดุลบาฮาผู้ซึ่งเป็นพระอาจารย์ที่รักของเรา ได้อธิบายวิธีการปรึกษาหารือในศาสนาบาไฮไว้โดยละเอียด เราควรจะศึกษาคำอธิบายนี้ ไม่เฉพาะเพียงครั้งเดียวเท่านั้น แต่ควรจะศึกษาหลายๆ ครั้งจนกระทั่งเรามีความเข้าใจอย่างถูกต้อง

?ในการปรึกษาหารือกันนั้น ประการแรก คณะกรรมการธรรมสภาบาไฮจะต้องมีเจตนารมณ์อันบริสุทธิ์ มีจิตใจที่ผ่องใส ตัดขาดออกจากทุกสิ่งทุกอย่างนอกจากพระผู้เป็นเจ้า ตั้งจิตมั่นอยู่ในความหอมหวานอันเป็นทิพย์ มีความสุภาพอ่อนน้อมต่อศาสนิกชนของพระผู้เป็นเจ้า มีความอดทนและฟันฝ่าความยากลำบาก และอุทิศตนรับใช้พระองค์ หากกรรมการธรรมสภาบาไฮได้รับการชี้แนะจนมีคุณธรรมเช่นนี้ ชัยชนะจากอาณาจักรสวรรค์ที่มองไม่เห็นจะได้แก่เขา ในยุคนี้ การมีธรรมสภาที่ดำเนินการด้วยการปรึกษาหารือกันเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง บาไฮศาสนิกชนต้องให้ความเคารพธรรมสภาบาไฮ?

ในการปรึกษาหารือร่วมกันของคณะกรรมการธรรมสภาบาไฮนั้น ต้องระวังอย่าให้เกิดมีความแตกแยกบาดหมางใจกัน

ความรู้สึกที่ดีต่อกันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อกรรมการทุกท่านแสดงความคิดเห็นของตนโดยอิสระเสรีและพิจารณาเรื่องที่กำลังหยิบยกขึ้นมานั้นด้วยเหตุผลของตนเอง หากมีผู้คัดค้านเจ้าของความคิดเห็นจะต้องไม่รู้สึกสะเทือนใจ ทั้งนี้เพราะถ้าหากปราศจากการถกเถียงกัน แนวทางที่ถูกต้องย่อมไม่ปรากฏออกมาให้เห็น ประกายแสงแห่งความจริงเป็นผลของการปะทะกันของแนวความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ ?หากภายหลังเปิดอภิปรายแล้วมีการลงมติเป็นเอกฉันท์ การตัดสินใจของคณะกรรมการทั้งชุดย่อมได้ชื่อว่าถูกต้องและชอบธรรมแล้ว แต่หากปรากฏว่าหลังอภิปรายที่ประชุมยังมีความเห็นแตกแยกกันออกไปเป็นหลายแนวอยู่ ก็ขอให้ถือมติของเสียงส่วนใหญ่

ในการประชุมธรรมสภาบาไฮนั้น มีข้อแม้ในประการแรกคือ จะต้องมีความรักและความสามัคคีในบรรดากรรมการของธรรมสภาบาไฮ คณะกรรมการจะต้องไม่มีความห่างเหินต่อกัน และจะต้องแสดงออกซึ่งความเป็นเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า เพราะว่ากรรมการธรรมสภาบาไฮมีสถานะเสมือนเป็นคลื่นในทะเลเดียวกัน เป็นหยดน้ำของแม่น้ำเดียวกัน เป็นดวงดาราในสรวงสวรรค์เดียวกัน เป็นรัศมีของตะวันดวงเดียวกัน เป็นต้นไม้และดอกไม้ในสวนเดียวกัน หากปราศจากซึ่งความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในความคิดเห็นและความสามัคคีกันอย่างแน่นแฟ้นแล้ว การประชุมครั้งนั้นย่อมจะต้องสลายตัวลง และธรรมสภาบาไฮมิได้ประโยชน์จากการมาประชุมร่วมกันนั้น สำหรับข้อแม้ประการที่สองคือ เมื่อคณะกรรมการมาร่วมประชุมกัน กรรมการทุกคนจะต้องตั้งจิตมุ่งสู่อาณาจักรเบื้องบน อธิษฐานขอความช่วยเหลือจากอาณาจักรแห่งความรุ่งเรืองนั้น และแล้วจึงแสดงความคิดเห็นด้วยจิตที่อุทิศตนรับใช้ศาสนา ด้วยความสุภาพอ่อนโยน โดยสง่าผ่าเผย โดยระมัดระวัง และโดยสมควร กรรมการทุกคนจะต้องค้นหาความจริงในทุกเรื่องที่หยิบยกขึ้นมาพิจารณาและจะต้องไม่ยึดถือในความคิดของตนเองแต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะความดื้อดึงและการยึดความคิดเห็นของตนโดยไม่ละลดนั้น ในที่สุดแล้วจะนำไปสู่ความบาดหมางและการทะเลาะเบาะแว้งกัน และความเป็นจริงก็จะถูกแฝงเร้นต่อไปอีก คณะกรรมการผู้ทรงเกียรติทั้งหลายจะต้องแสดงความคิดเห็นของตนออกมาโดยเสรีห้ามมิให้ดูหมิ่นความคิดเห็นของคณะกรรมการท่านอื่น แสดงความจริงใจให้ปรากฏออกมาด้วยความนุ่มนวล และถ้าหากมีความคิดเห็นหลายแนวเกิดขึ้น ให้ยึดถือความคิดเห็นที่กรรมการส่วนใหญ่ลงมติสนับสนุนและทุกคนจะต้องเคารพและยอมรับมติที่กรรมการส่วนใหญ่นั้นรับรอง ห้ามมิให้กรรมการท่านใดท่านหนึ่งคัดค้านหรือตำหนิติเตียนมติที่ผ่านการรับรองแล้วทั้งในที่ประชุมและนอกที่ประชุม แม้ว่ามติที่ผ่านออกมานั้นจะไม่ถูกต้องก็ตาม เพราะการวิพากษ์วิจารณ์นั้นจะกีดกันมิให้มตินั้นมีผลออกมาเป็นการปฏิบัติ กล่าวโดยสรุปก็คือ การตกลงที่กระทำร่วมกันด้วยความสามัคคี ด้วยความรักและด้วยเจตนารมณ์อันผ่องแผ้วนั้นมีผลเป็นความสว่างไสว หากมีร่องรอยแห่งความห่างเหินปรากฏอยู่ ผลที่ได้ก็คือความมืดมิดนั่นเอง

หากการปรึกษาหารือมีลักษณะดังเช่นที่กล่าวมานี้ ธรรมสภาบาไฮแห่งนั้นก็จะได้ชื่อว่าเป็นธรรมสภาของพระผู้เป็นเจ้า หาไม่แล้ว การปรึกษาหารือนี้จะนำไปสู่ความเย็นชาและความหมางเมินต่อกันก็จะฟักตัวขึ้นจากความชั่วร้าย ควรจำกัดการปรึกษาหารือให้อยู่ในหลักธรรมซึ่งได้แก่การฝึกฝนบาไฮศาสนิกชน ให้การศึกษาแก่เด็ก บรรเทาทุกข์คนยากจน พิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่คนที่อ่อนแอในทุกระดับชนทั่วโลก ให้ความเมตตาธรรมแก่คนทั่วไป ดำเนินการเผยแพร่ศาสนาของพระผู้เป็นเจ้าและเชิดชูพระวจนะอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ หากธรรมสภาบาไฮเพียรพยายามปฏิบัติตามหลักเงื่อนไขที่วางไว้นี้ เขาจะได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ และธรรมสภาบาไฮนั้นจะกลายเป็นศูนย์แห่งพระองค์ และกรรมการแห่งธรรมสภานั้นก็จะได้รับกระแสพระบารมีวันแล้ววันเล่า

4) ขอให้เราทั้งหลายจงทบทวนคำสั่งสอนในจุดที่สำคัญที่กล่าวมาแล้ว ดังนี้

????คุณสมบัติเบื้องแรกของกรรมการธรรมสภาบาไฮได้แก่

  • มีเจตนารมณ์อันบริสุทธิ์
  • มีจิตใจผ่องแผ้ว
  • สละจากกิเลสทั้งมวล ยึดถือแต่พระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น
  • ตั้งจิตมั่นอยู่ในความหอมหวานอันเป็นทิพย์ มีความรักพระบาฮาอุลลาห์
  • มีความอดทนและฟันฝ่าความยากลำบาก
  • อุทิศตนรับใช้พระผู้เป็นเจ้า
  • อย่าให้เกิดมีความแตกแยก ความบาดหมางใจกัน
  • กรรมการแต่ละท่านจะต้องแสดงความคิดเห็นของตนโดยอิสระเสรี
  • ประกายแสงแห่งความจริงเป็นผลของการปะทะกันของแนวความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ ?
  • จะต้องมีความรักและความสามัคคีในบรรดาของกรรมการธรรมสภาบาไฮ มีความปรองดองกันประหนึ่งเป็นคลื่นในทะเลเดียวกัน
  • หากปราศจากซึ่งความสมัครสมานสามัคคีกันแล้ว ธรรมสภาบาไฮนั้นจะต้องสลายตัวลง
  • คณะกรรมการจะต้องอธิษฐานขอให้พระผู้เป็นเจ้าช่วยเหลือและช่วยนำทาง
  • ให้แสดงความคิดเห็นด้วยจิตที่อุทิศตนรับใช้ศาสนา ด้วยความสุภาพอ่อนโยน โดยสง่าผ่าเผย และโดยสมควร
  • กรรมการจะต้องไม่ยืนกรานในความคิดเห็นของตนอย่างดื้อดึง
  • ไม่อนุญาตให้กรรมการท่านใดดูหมิ่นหรือเย้ยหยันความคิดเห็นของกรรมการท่านอื่น
  • กรรมการทั้งหมดจะต้องให้การสนับสนุนมติที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการส่วนใหญ่ และห้ามวิพากษ์วิจารณ์มติของที่ประชุม

5) แม้กรรมการบางท่านจะมีความคิดว่า มติที่ประชุมนั้นไม่ถูกต้อง กระนั้นก็ดี ไม่เป็นการบังควรที่ผู้หนึ่งผู้ใดจะวิจารณ์มติที่ธรรมสภาบาไฮตัดสินเห็นชอบแล้ว การเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันมีความสำคัญมากกว่าการคำนึงถึงหลักความถูกต้อง หากมตินั้นผิดจริงความผิดพลาดนี้จะเด่นชัดขึ้นในภายหลัง ทำให้ธรรมสภาบาไฮแก้ไขให้ถูกต้องได้ และน้ำใจไมตรีแห่งความสามัคคีนี้จะต้องแผ่มาจากธรรมสภาบาไฮของพระองค์

6) คณะกรรมการธรรมสภาบาไฮจะต้องพยายามหาทางออกที่ถูกต้องให้แก่เรื่องทุกเรื่องที่กำลังพิจารณากัน จงระลึกถึงถ้อยคำของท่านศาสนภิบาล โชกิ เอฟเฟนดิ ดังนี้

?หลักสำคัญแห่งศาสนาของพระผู้เป็นเจ้าไม่ใช่การใช้อำนาจแบบเผด็จการ แต่เป็นการสมานฉันท์กันด้วยความสุภาพอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจตามอำเภอใจ แต่เป็นการแสดงออกซึ่งความเปิดเผยและการปรึกษาหารือกันด้วยจิตที่เปี่ยมไปด้วยความรักใคร่ต่อกัน?

——————————————————————-