เศรษฐกิจ เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม

เจตคติและพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ

ดูกร ?คนรับใช้ทั้งหลายของเรา! ?เจ้าคือพฤกษาในอุทยานของเรา ?เจ้าต้องออกผลที่วิเศษและงดงาม ?เพื่อว่าเจ้าเองและคนอื่นจะได้รับประโยชน์จากผลไม้นั้น ?ดังนั้นเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะประกอบวิชาชีพหรืองานฝีมือ ?เพราะในนั้นมีความลับของความมั่งคั่งอยู่ ดูกร มนุษย์ผู้มีปัญญา! ?เพราะผลขึ้นกับวิธีการและกรุณาธิคุณของพระผู้เป็นเจ้าเพียงพอสำหรับเจ้าทุกประการ ?ต้นไม้ที่ไม่ออกผลนั้นเหมาะสำหรับกองไฟเสมอมาและตลอดไป

?????????????????????????????????????????????????????????The Hidden Words, Persian, no.80 พระบาฮาอุลลาห์

ทุกคนต้องเป็นต้นไม้ที่ออกผลคือมีผลผลิต ?ซึ่งนัยทางเศรษฐกิจของวจนะข้างบนนี้คือ ทุกคนต้องประกอบอาชีพ ?แต่มิใช่ว่าเป็นอาชีพอะไรก็ได้ที่มีรายได้ อาชีพนั้นควรเป็นงานที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นหรือสังคม ?เช่นแพทย์รักษาคนไข้ ครูสอนนักเรียน ช่างสร้างบ้านให้คนอาศัย แม่ค้าขายอาหารให้คนซื้อทาน นักบัญชีทำบัญชีให้บริษัท ?เกษตรกรปลูกข้าวและพืชผักผลไม้ให้เป็นอาหารสำหรับคนอื่น นักวิทยาศาสตร์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ มาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหรือเพิ่มความสะดวกสบายให้กับชีวิต ?การมีรายได้หรือได้เงินมาโดยไม่ได้ทำอะไรที่มีประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคมเช่น การได้เงินมาจากการคอรัปชั่น การเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ การเก็งกำไรหุ้น การค้าเงินตรา ?หรือการให้เงินทำงานแทนโดยที่เราไม่ต้องทำอะไรในรูปแบบต่างๆ ล้วนมีผลเสียต่อเศรษฐกิจจะมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นกับปริมาณเงินที่ได้มาดังกล่าว

ผู้ที่หาเลี้ยงชีพด้วยนำพักนำแรงของตนเองย่อมเห็นค่าของเงินที่ได้มาด้วยความพากเพียรอุตสาหะ ?และจะรู้จักใช้เงินไม่ฟุ่มเฟือย ส่วนผู้ที่ได้เงินมาโดยไม่ต้องทำอะไรมีแนวโน้มที่จะสุรุ่ยสุร่ายและใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยโดยไม่ต้องเสียดายเงิน ?ถ้ามีคนจำนวนมากได้เงินมาเป็นปริมาณมากในลักษณะนี้ย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมได้ ตัวอย่างเช่น ประชาชนทั่วไปพอใจที่จะซื้อรถยนต์คันหนึ่งในราคาเจ็ดแสนบาท ?เพราะเห็นว่าเป็นราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพ ซึ่งก็เป็นราคาขายที่บริษัทรถยนต์ได้กำไรพอสมควรและอยู่ได้ ถ้าบริษัทขึ้นราคารถคันเดียวกันนี้ใหม่ตามใจชอบเป็นแปดแสนบาทเพราะอยากจะมีกำไรมากขึ้น ?ประชาชนอาจรู้สึกว่าแพงเกินไปไม่อยากซื้อเพราะเสียดายเงิน รถรุ่นนี้ก็จะขายได้ยาก ผู้ขายก็จะไม่กล้าขึ้นราคา แต่หากมีคนจำนวนมากที่ได้เงินมาง่ายๆ เช่นจากการคอรัปชั่น การเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์หรือเก็งกำไรหุ้น ?พวกเขาก็จะไม่เสียดายเงินและกล้าซื้อรถรุ่นนี้ รถรุ่นนี้ก็ยังขายได้อยู่ จึงดึงให้เงินเฟ้อ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ทำมาหากินสุจริต ประกอบอาชีตที่มีผลผลิตด้วยน้ำพักน้ำแรงต้องเดือดร้อนเพราะต้องซื้อบ้าน ที่ดิน รถยนต์ ?หรือสินค้าอื่นๆ ในราคาที่สูงเกินควร

นอกจากนี้การได้เงินมาง่ายๆ ยังส่งเสริมให้คนฟุ่มเฟือย ?บริโภคสินค้าราคาแพงที่นำเข้าจากต่าง ประเทศโดยไม่จำเป็น ?และส่งผลลบต่อดุลการค้าระหว่างประเทศ หลายปีก่อนรัฐบาลเคยออกมาตรการสกัดการเสียดุลการค้าโดยให้คนไทยทุกคนที่จะเดินทางออกนอกประเทศต้องเสียค่าธรรมเนียมห้าพันบาท ?เพื่อยับยั้งมิให้คนไทยเดินทางไปต่างประเทศและนำเงินออกไปใช้จ่ายนอกประเทศ คนที่เดือดร้อนจากมาตรการนี้ก็คือสุจริตชนที่ทำงานหาเงินด้วยน้ำพักน้ำแรงแต่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ ?ส่วนคนที่ได้เงินมาเปล่าๆ เช่นจากการคอรัปชั่น ก็ยังเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศต่อโดยไม่เสียดายค่าธรรมเนียมห้าพันบาท มาตรการเช่นนี้จะไม่จำเป็นหากประชาชนไม่ได้เงินมาเปล่าๆ แต่ได้เงินมาด้วยน้ำพักน้ำแรงอย่างเหนื่อยยาก ?เพราะประชาชนจะเสียดายเงิน และจะไม่ไปใช้เงินในต่างประเทศอย่างไม่จำเป็นหรือไม่คุ้มค่า

ดังกล่าวนี้คือตัวอย่างหนึ่งของความน่าท้อใจที่เกิดจากระบบและกลไกทางเศรษฐกิจที่บกพร่องและไม่ยุติธรรม ?ซึ่งทำให้คนส่วนใหญ่เดือดร้อนและยากจนลงทั้งๆ ที่ขยันทำมาหากินโดยสุจริต เพราะรายได้ของตนไล่ไม่ทันกับเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วจากการเก็งกำไร ?และการทำเงินในรูปแบบต่างๆ ที่ไม่ได้มีผลผลิตหรือทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นหรือสังคม ส่วนบางคนที่ยากจนเพราะพฤติกรรมส่วนตัวเช่น เกียจคร้าน ชอบหน้าใหญ่ ?ใช้จ่ายเกินตัว ไม่รู้จักประหยัด สร้างหนี้โดยไม่จำเป็น เป็นอีกประเด็นต่างหากที่ต้องแก้ไขที่บุคคลนั้นเอง ซึ่งผู้บริหารเศรษฐกิจไม่สามารถรับผิดชอบคนประเภทนี้ได้ ?สังคมที่มองความประหยัดเป็นเรื่องน่าอายควรพิจารณาคำสอนบาไฮนี้ :

ความประหยัดคือรากฐานของความรุ่งเรือง ?คนสุรุ่ยสุร่ายมักตกอยู่ในความยุ่งยากเสมอ ?ความฟุ่มเฟือยเป็นบาปที่อภัยไม่ได้ เราต้องไม่เกาะผู้อื่นกินเหมือนปาราสิต ?ทุกคนต้องมีวิชาชีพไม่ว่าในด้านวรรณกรรมหรือหัตถการ และต้องดำรงชีวิตที่สะอาด ?อาจหาญและสุจริต เป็นตัวอย่างของความบริสุทธิ์ให้ผู้อื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่าง ความพอใจกับเศษขนมปังแห้งนั้นมีเกียรติกว่าการกินมื้อเย็นที่มีอาหารหลายชนิดและมีราคา ?แต่ค่าอาหารนั้นมาจากกระเป๋าของผู้อื่น จิตใจของผู้ที่พึงพอใจนั้นสงบและหัวใจของเขาผ่อนคลายเสมอ

?????????????????????????A Baha?i Perspective on Economics of the Future, p.71 ?พระอับดุลบาฮา

เจ้าจงเกรงกลัวพระผู้เป็นเจ้า ?และเอาใจใส่อย่าล่วงเกินขอบเขตของความพอประมาณ ?และถูกนับเป็นพวกที่ฟุ่มเฟือย

A Baha?i Perspective on Economics of the Future, p.49 ?พระอับดุลบาฮา

สำหรับบาไฮการทำงานด้วยดวงจิตแห่งการรับใช้คือการบูชา ?ดังนั้นทุกคนสามารถนมัสการหรือบูชาพระผู้เป็นเจ้าได้ทุกแห่งหนที่ตนกำลังทำงานอยู่ ?ไม่ว่าจะเป็นครูที่กำลังสอนนักเรียน พยาบาลที่กำลังดูแลคนไข้ พนักงานในโรงงานที่กำลังผลิตสินค้า ?ช่างที่กำลังทำงานฝีมือ ฯลฯ หากพวกเขากำลังทำงานด้วยความตั้งใจให้ผลงานออกมาให้ดีที่สุดและเพื่อจะรับใช้ผู้อื่น ?ไม่ใช่คอยหาโอกาสคดโกงในงานที่ทำ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจต่อส่วนรวมหรือตนเองในภายหลัง เช่นเสียลูกค้าจนทำให้รายได้ลดลง

ดูกร ?ประชาชนแห่งบาฮา! เป็นหน้าที่ของเจ้าแต่ละคนที่จะประกอบอาชีพบางอย่างเช่น ?งานฝีมือ การค้าหรือที่คล้ายกัน เราได้ยกการทำงานดังกล่าวขึ้นเทียบเท่าการบูชาพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริงองค์เดียว ?ดูกร ประชาชน จงไตร่ตรองดูกรุณาธิคุณและพระพรของพระผู้เป็นนายของเจ้า และขอบคุณพระองค์ยามสายัณห์และรุ่งอรุณ อย่าเสียเวลาไปกับความเกียจคร้านและเฉื่อยชา ?จงใช้เวลาของเจ้าทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ดังนี้เป็นที่โองการไว้ในธรรมจารึกนี้ ซึ่งดวงตะวันแห่งอัจฉริยภาพและวาทะส่องแสง มาจากขอบฟ้าของธรรมจารึกดังกล่าว ?คนที่น่ารังเกียจที่สุดในสายตาของพระผู้เป็นเจ้าคือคนที่นั่งขอทาน จงยึดมั่นสายใยแห่งวิธีการและวางใจในพระผู้เป็นเจ้า พระผู้ทรงจัดหาวิธีการทั้งหมด

?????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????Kitab-i-Aqdas, no.33 พระบาฮาอุลลาห์

?ถึงแม้การทำงานจะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเลี้ยงชีพเพื่อไม่ให้ตนเองเป็นภาระต่อคนอื่น ?งานมีค่ามากกว่านั้นในตัวมันเอง เพราะแม้แต่คนที่มีเงินเหลือกินเหลือใช้โดยไม่จำเป็นต้องทำงาน ?เช่นคนที่ได้รับมรดกก้อนใหญ่มา ก็ไม่ได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องทำงาน ?ท่านโชกิ เอฟเฟนดิ ขยายความบทบัญญัติข้อนี้ของพระบาฮาอุลลาห์ไว้ว่า

??????????????

ในเรื่องบัญชาของพระบาฮาอุลลาห์เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพบางอย่างของศาสนิกชน ?คำสอนบาไฮเน้นเรื่องนี้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำแถลงในอัคดัสกล่าวไว้ชัดเจนทีเดียวว่า ?คนเกียจคร้านที่ไม่อยากทำงานจะไม่มีที่ลงในระบบโลกใหม่ ผลพวงของหลักธรรมนี้ที่พระบาฮาอุลลาห์กล่าวเพิ่มเติมคือ ?การขอทานไม่ควรถูกห้ามปรามเท่านั้น แต่ควรถูกกวาดให้หมดไปจากสังคม ?เป็นหน้าที่ของบรรดาผู้ที่รับผิดชอบการจัดระเบียบสังคม ?ที่จะให้ทุกคนได้มีโอกาสพัฒนาความสามารถตามความถนัดซึ่งจำเป็นสำหรับวิชาชีพบางอย่าง ?และมีหนทางสำหรับการใช้ความสามารถนั้นให้เป็นประโยชน์ ทั้งเพื่อเห็นแก่ความสามารถเองและเห็นแก่การหาเลี้ยงชีพ ?ไม่ว่าจะพิการหรือมีข้อจำกัดแค่ไหนทุกคนมีหน้าที่ทำงานและประกอบวิชาชีพบางอย่าง เพราะงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำด้วยดวงจิตแห่งการรับใช้ตามที่พระบาฮาอุลลาห์สอนไว้ ?คือรูปแบบหนึ่งของการบูชา ?งานมิได้มีเพียงจุดประสงค์ที่เป็นประโยชน์เท่านั้น ?แต่งานมีคุณค่าในตัวมันเอง เพราะงานพาเราเข้าไปใกล้พระผู้เป็นเจ้า ?และช่วยให้เราเข้าใจจุดประสงค์ของพระองค์สำหรับเราในโลกนี้ได้ดีขึ้น ดังนั้นเป็นที่ชัดเจนว่า ?การได้รับมรดกที่มั่งคั่งไม่ใช่ข้อยกเว้นให้ใครไม่ต้องทำงาน ????????????

????????????????????????????????????????????????????A Baha?i Perspective on Economics of the Future, p.22 ท่านโชกิ ?เอฟเฟนดิ

นโยบายและการบริหารเศรษฐกิจ

ความต้องการรักษาคะแนนนิยมทางการเมือง ?อาจทำให้เป็นไปไม่ได้ที่รัฐบาลไหนจะวางแผนระยะยาวเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจได้สำเร็จ ?ซึ่งต้องอาศัยเวลานับสิบปีที่จะสร้างคนในประเทศให้เป็นผู้ผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในด้านต่างๆ ?เช่น ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เกษตรกรรม อุตสาหกรรม ฯลฯ เพราะเห็นผลได้ช้าและไม่สามารถเรียกคะแนนนิยมจากประชาชนได้ทันการสำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป ?รัฐบาลจึงอาจหันมาใช้นโยบายเศรษฐกิจที่เห็นผลเร็วทันใจให้โดนใจประชาชนไวๆ เช่น โครงการที่ให้ประชาชนได้เงินมาโดยไม่มีผลผลิต หรือกระตุ้นให้ประชาชนใช้จ่ายเกินตัว ?ซึ่งจะเป็นผลดีต่อคะแนนนิยมของรัฐบาล เพราะประชาชนมีเงินจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นและส่งผลดีต่อการเติบโตเศรษฐกิจ รัฐบาลเองก็มีรายรับมากขึ้นจากการเก็บภาษีได้มากขึ้นเพราะประชาชนใช้จ่ายมากขึ้น

ตัวอย่างเช่นรัฐบาลอาจลดภาษีหรือลดจำนวนเงินดาวน์ขั้นต่ำในการซื้อรถยนต์เงินผ่อน ?เช่นเดิมอาจกำหนดไว้ว่าต้องวางเงินดาวน์อย่างน้อย 40% ของมูลค่ารถจึงจะซื้อรถเงินผ่อนได้ ?ก็ลดลงมาเหลือ 5% ?ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถซื้อรถได้ง่ายขึ้น ?ผลที่ตามมาอย่างรวดเร็วคือรถยนต์จะขายดีขึ้นและกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตรถยนต์ก็จะขายดีขึ้นตาม ?รวมทั้งธุรกิจการปล่อยสิ้นเชื่อสำหรับการซื้อรถก็จะมีรายได้สูงขึ้นด้วย ซึ่งจะทำให้ตัวเลขการเติบโตเศรษฐกิจสูงขึ้น ?และรัฐบาลจะเก็บภาษีได้มากขึ้น ก็น่าเป็นที่ถูกอกถูกใจหากรัฐบาลคิดแค่สั้นๆ ไม่มองหรือไม่สนใจผลเสียในระยะยาว เพราะนอกจากจะเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเอาเงินในอนาคตมาใช้ล่วงหน้าโดยการกู้มาซื้อรถ ?เงินที่เก็บภาษีมาได้ก็เป็นภาษีในอนาคตเช่นเดียวกัน สมมุติประชาชนซื้อเงินผ่อนรถราคาหนึ่งล้านบาทโดยวางดาวน์เพียง 5% คือ 50,000 บาท ?หากมองในความเป็นจริงแล้วตัวเลขที่ช่วยการเติบโตทางเศรษฐกิจจากการซื้อขายรถคันนี้ควรเป็นเงิน 50,000 บาท ?และตัวเลขภาษีที่รัฐบาลได้รับจริงควรคิดจาก 50,000 บาทนี้ ส่วนตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจและภาษีที่คิดจากอีก 950,000 บาทที่กู้มาซื้อรถนั้น ?เป็นเหมือนภาพลวงตาให้เข้าใจผิดว่าเศรษฐกิจดีและรัฐบาลเก็บภาษีได้มาก การเติบโตของเศรษฐกิจบนหนี้กองโตขึ้นเรื่อยๆ เช่นนี้เป็นภัยเงียบที่น่ากลัว

การเติบโตทางเศรษฐกิจจากการกระตุ้นให้ประชาชนกู้มาใช้จ่ายเกินตัว ?หรือรัฐบาลกู้มาให้ประชาชนเช่นในโครงการประชานิยม แม้ว่าอาจทำให้เศรษฐกิจคึกคักในช่วงสั้นๆ ?แต่ถ้าเงินที่กู้มานั้นไม่ทำให้ประชาชนมีผลผลิตหรือเป็นผู้ผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ก็เท่ากับว่าประชาชนเป็นแต่ผู้บริโภคเงินกู้นั้นแต่ไม่ได้เป็นผู้ผลิต ?ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อตัวประชาชนเองและเศรษฐกิจของชาติในระยะยาว

เพื่อจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น ?เราอาจเปรียบเทียบประเทศชาติเป็นครอบครัวหนึ่ง ?เมื่อครอบครัวกู้เงินมาสำหรับการศึกษาของลูก และลูกใช้เงินกู้นั้นตามวัตถุประสงค์ ?ตั้งใจเล่าเรียนจนจบออกมามีงานทำ มีรายได้มาค่อยๆ ใช้หนี้จนหมด ครอบครัวนั้นก็อยู่รอดทางเศรษฐกิจ ?แต่ถ้าลูกเหลวไหลไม่มีความรับผิดชอบ เอาเงินที่กู้มานั้นไปเที่ยวเตร่หรือใช้จ่ายอย่างอื่นจนหมด แล้วเรียนไม่จบ ?ไม่มีงานทำ ก็เท่ากับว่าลูกเป็นแต่ผู้บริโภคโดยไม่มีผลผลิต และได้เงิน (กู้) มาเปล่าๆ โดยไม่ได้ทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นหรือสังคม ?ครอบครัวนั้นย่อมเดือดร้อนเพราะจะไม่มีเงินใช้หนี้ ทำนองเดียวกันหากรัฐบาลกู้เงินจากต่างประเทศมาช่วยเหลือประชาชนในรูปแบบต่างๆ แต่ประชาชนได้แต่ใช้เงินนั้นเพื่อการบริโภค ?โดยไม่มีผลผลิต รัฐบาลก็จะไม่มีเงินไปใช้หนี้ เศรษฐกิจก็จะยิ่งแย่กว่าเดิมในไม่ช้า

ระบบเศรษฐกิจ

ลัทธิมากมายเหล่านี้…ทอดทิ้งประชาชนที่อดอยากนับล้านๆ อย่างไม่ไยดีไว้กับปฏิบัติการของระบบการตลาดที่กำลังซ้ำเติมความระกำลำบากของมนุษยชาติส่วนใหญ่อย่างเห็นได้ชัด ?ขณะที่ช่วยให้คนส่วนน้อยสามารถดำรงชีวิตด้วยความมั่งคั่งอย่างที่บรรพบุรุษของเราแทบไม่เคยนึกฝันมาก่อน

The Promise of World Peace, p.5 ?สภายุติธรรมสากล

ลัทธิต่างๆ ที่แพร่หลายในโลกในเวลานี้มีความซับซ้อนมาก ?คอมมิวนิสต์มีหลายประเภทซึ่งไม่ลงรอยกันและกัน ที่มีหลายประเภทยิ่งกว่าคือ ?นายทุน? ในความหมายของผู้ที่สนับสนุนทุนนิยมว่าเป็นรูปแบบที่น่าปรารถนาที่สุดของระบบเศรษฐกิจ ?แต่ไม่ว่าจะเป็นประเทศสังคมนิยมหรือทุนนิยม สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่น่าสลดที่สภายุติธรรมสากลซึ่งเป็นสถาบันสูงสุดของศาสนาบาไฮ กล่าวไว้ข้างบนนี้ในปี ค.ศ.1986 เป็นความจริงที่ประจักษ์ ?

สมมุติว่าในสังคมหนึ่งมียี่สิบคนที่ลงทุนทำธุรกิจอย่างหนึ่งด้วยเงินลงทุนรายละสามล้านบาท ?แต่มีนาย ก. ลงทุนทำธุรกิจประเภทเดียวกันด้วยเงินสามสิบล้านบาท ธุรกิจของยี่สิบคนนั้นก็คงสู้นาย ก. ไม่ได้ ?เมื่อกิจการของตนทำรายได้ดีนาย ก. ก็อยากขยายกิจการโดยไปกู้เงินจากสถาบันการเงินมาลงทุนเพิ่มอีกสามสิบล้านบาท ?ธุรกิจของอีกยี่สิบคนนั้นก็ยิ่งสู้ไม่ได้ ถ้าไม่ต้องปิดกิจการของก็คงทำรายได้ไม่มาก อาจแค่พออยู่ได้ ครั้นคิดจะขยายกิจการเพื่อมาสู้กับนาย ก. แล้วไปขอกู้เงินจากสถาบันการเงินมาลงทุนเพิ่มสักสี่สิบล้านบาท ?ก็คงยากที่จะได้เพราะกิจการของตนเล็กเกิน สถาบันการเงินคงไม่ยอมปล่อยกู้ให้ คนอย่างนาย ก. ก็จะกลายเป็นปลาใหญ่ไล่กินปลาเล็ก

ต่อมากิจการของนาย ก. ก็ยิ่งทำกำไรมากและมากขึ้นไปอีกจนไม่มีใครสู้ได้จนมีทรัพย์สินกว่าร้อยล้าน ?นาย ก. เลยคิดจะไปทำธุรกิจอื่นบ้างคืออสังหาริมทรัพย์ แล้วก็ไปขอกู้เงินจากสถาบันการเงินมาสองร้อยล้าน ?นำไปกว้านซื้อที่ดินมาตุนไว้จำนวนหนึ่งเพื่อเก็งกำไรแล้วทำโครงการบ้านจัดสรร เมื่อร่ำรวยขึ้นไปเรื่อยๆ ในที่สุดนาย ก. ก็ใจใหญ่ไปขอกู้เงินเพิ่มเพื่อนำมาลงทุนซื้อที่ดินตุนไว้เป็นพันๆ ล้านหรืออาจถึงหมื่อล้านบาท ?เริ่มเกิดการผูกขาด ทำให้ราคาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์พุ่งขึ้นอีกอย่างรวดเร็ว จนประชาชนทั่วไปที่ต้องการซื้อบ้านเดือดร้อน เพราะเงินเดือนหรือรายได้ของตนเพิ่มขึ้นไม่ทันกับราคาบ้านที่สูงขึ้น หากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หมื่นล้านของนาย ก. ประสบความสำเร็จ ?ผู้ที่ร่ำรวยคือนาย ก. และสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ให้นาย ก. แต่ถ้าธุรกิจของนาย ก. ล้มเหลว นาย ก.ไม่มีเงินไปใช้หนี้สถาบันการเงิน ทำให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ถึงขั้นอันตรายต่อความมั่นคงของสถาบันการเงิน รัฐบาลก็อาจจะต้องเอาเงินภาษีของประชาชนมาอุ้มสถาบันการเงินดังกล่าว ?และใช้มาตรการต่างๆ มาช่วยให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของนาย ก. ขายได้ เช่นลดหย่อนภาษีบางอย่าง

นี้คือระบบเศรษฐกิจที่ไม่ยุติธรรมอย่างเห็นได้ชัด ?เวลาธุรกิจทำกำไร ผู้ที่เสวยกำไรนั้นก็คือนาย ก. และสถาบันการเงิน ?แต่ถ้าธุรกิจย่ำแย่ภาระนั้นต้องมาตกอยู่กับประชาชนทั้งหมด เพราะรัฐบาลเอาภาษีของประชาชนไปช่วยอุ้มธุรกิจของนาย ก. และสถาบันการเงิน ?อย่างนี้ประชาชนก็โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง ถ้าธุรกิจของนาย ก.ไปไม่ไหวก็ต้องมาร่วมแบกภาระ ถ้าธุรกิจของนาย ก. ไปได้ดี ประชาชนก็ต้องเดือดร้อนเพราะบ้านราคาแพงขึ้นมาก ?ก็เท่ากับว่าตัวเองจนลง การลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนไม่มีทางทำได้สำเร็จ และแถมช่องว่างนี้จะยิ่งถ่างกว้างออกเรื่อยๆ หากยังไม่แก้หรือปรับระบบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่เช่นนี้ ?ในเอกสารเดียวกันนี้ที่เป็นคำแถลงถึงประชาชนทั้งหลายของโลก สภายุติธรรมได้สนับสนุนให้ทั้งผู้ที่สนับสนุนทุนนิยมและสังคมนิยมมองข้ามความแตกต่างของทฤษฎีเศรษฐกิจของตน แล้วแสวงหาการแก้ปัญหาที่แท้จริงที่กำลังทำให้มนุษยชาติส่วนใหญ่เดือดร้อน ?โดยตั้งคำถามไว้ว่า :

เวลามาถึงแล้วสำหรับบรรดาผู้ที่เทศน์วัตถุนิยม ?ไม่ว่าของโลกตะวันออกหรือโลกตะวันตก ไม่ว่าของทุนนิยมหรือสังคมนิยม ?ที่จะต้องให้คำอธิบาย…ทำไมประชาชนส่วนใหญ่ของโลกกำลังจมลงไปในความหิวโหยและทุกขเวทนา ?ขณะที่ความมั่งคั่งในระดับที่ไม่เคยนึกฝันโดยฟาโรห์ ซีซ่าร์ หรือแม้แต่บรรดามหาอำนาจนักล่าอาณานิคมในคริสต์ศตวรรษที่สิบเก้า ?อยู่ในมือของบรรดาผู้ชี้ขาดกิจการทั้งหลายในปัจจุบัน

The Promise of ?World Peace, p.5 ?สภายุติธรรมสากล

ที่จริงนั้น ?เวลามาถึง? นาน ?แล้ว? เพราะสภายุติธรรมได้แถลงไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1986 ?แต่เลยมาถึงป่านนี้ระบบเศรษฐกิจก็ยังไม่ถูกปรับให้แก้ปัญหาความยากจนของคนเป็นล้านๆ ได้อย่างมีประสิทธิผลไม่ว่าประเทศไหน ?คนจนยิ่งจนลง คนรวยยิ่งรวยขึ้น ขึ้นไปติดทำเนียบเศรษฐีระดับประเทศหรือระดับโลก ระบบเศรษฐกิจที่ให้กำเนิดปลาใหญ่มาไล่กินปลาเล็ก ?จนกระทั่งปลาเล็กลดน้อยลงจนเหลือไม่พอให้ปลาใหญ่กิน ในที่สุดระบบเศรษฐกิจนั้นก็จะระส่ำระสายและพร้อมที่จะทลายลง ดังที่มีสัญญาณส่อเค้าให้เห็นแล้วในบางประเทศในทวีปอเมริกาและยุโรป ?ถึงเวลาหรือยังที่บรรดาผู้ที่มีอำนาจทางการเงินและอิทธิพลทางเศรษฐกิจ ควรได้แรงบันดาลใจจากธรรมลิขิตบาไฮข้างล่างนี้ : ?

ความมั่งคั่งเป็นที่น่าสรรเสริญในระดับสูงสุด ?หากความมั่งคั่งนั้นได้มาด้วยความพยายามของตนเองและกรุณาธิคุณของพระผู้เป็นเจ้าในด้านพาณิชย์ ?เกษตรกรรม ศิลปะและอุตสาหกรรม และความมั่งคั่งนั้นถูกใช้ไปเพื่อเห็นแก่มนุษยธรรม เหนืออื่นใดหากผู้ที่สุขุมรอบคอบและคิดเป็นทำเป็น ?ริเริ่มมาตรการที่จะช่วยให้มวลชนรวยขึ้นอย่างทั่วถึง ไม่มีภารกิจใดยิ่งใหญ่กว่านี้ และในสายตาของพระผู้เป็นเจ้า ภารกิจนี้คือความสำเร็จสูงสุด ?เพราะผู้อนุเคราะห์ดังกล่าวจัดหาสิ่งจำเป็นและรับประกันความสุขสบายและความผาสุกของคนจำนวนมาก ความมั่งคั่งเป็นที่น่าชมเชยที่สุดโดยมีข้อแม้ว่าประชาชนทั้งหมดมั่งคั่งด้วย ?หากคนไม่กี่คนร่ำรวยจนเกินควรแต่คนอื่นทั้งหมดยากจน และไม่มีผลหรือประโยชน์งอกเงยมาจากความมั่งคั่งนั้น เช่นนั้นความมั่งคั่งเป็นเพียงสิ่งที่ผู้ครอบครองจะต้องจ่ายไป ในทางตรงกันข้ามหากความมั่งคั่งถูกใช้จ่ายไปเพื่อส่งเสริมความรู้ ?ก่อตั้งโรงเรียนประถมและโรงเรียนอื่นๆ สนับสนุนศิลปะและอุตสาหกรรม ฝึกฝนเด็กกำพร้าและผู้ยากไร้ กล่าวโดยย่อ หากความมั่งคั่งอุทิศให้แก่ความผาสุกของสังคม ผู้ครอบครองความมั่งคั่งนั้นจะโดดเด่นต่อหน้าของพระผู้เป็นเจ้าและมนุษย์ในฐานะที่เป็นผู้ที่ล้ำเลิศกว่าใครๆ ที่อาศัยอยู่บนพิภพ ?และจะได้รับการนับว่าเป็นชาวสวรรค์

??????????????????????????????????????????????The Secret of Divine Civilization, p.24-5 ?พระอับดุลบาฮา

บทบาทของสถาบันการเงินในการค้ำจุนเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

สมมุติว่านาย ข.เป็นชาวประมง ?และได้รับเงินกู้จากสถาบันการเงินมาสามล้านบาทด้วยอัตราดอกเบี้ย 8 % เพื่อซื้อเรือประมงและทำกิจการประมง ?คิดเป็นดอกเบี้ย 240,000 บาทต่อปี หรือ 20,000 บาทต่อเดือน นาย ข.ใช้เรือประมงนี้ออกไปจับปลามาขาย ได้กำไรมากพอที่จะจ่ายดอกเบี้ย 20,000 บาทแต่ละเดือนพร้อมกับจ่ายเงินต้นด้วยบางส่วน ?ต่อมาเมื่อคนอื่นๆ เห็นกิจการประมงของนาย ข.ไปได้ดีก็เลยคิดจะทำบ้าง โดยไปกู้เงินสถาบันการเงินมาสามล้านบาทเช่นกันโดยกำหนดผ่อนจ่ายสิบปี จากนั้นไม่นานก็มีเรือประมงเพิ่มขึ้นเป็นยี่สิบลำออกทะเลไปจับปลาแบบนาย ข. ?ทุกคนก็จับปลาได้มากพอที่จะขายได้กำไรพอที่จะผ่อนหนี้สถาบันการเงินทุกเดือน สถาบันการเงินเห็นว่ากิจการนี้ไปได้ดีก็ยินดีปล่อยกู้ให้คนอื่นๆ อีก จนกระทั่งก็มีเรือประมงหนึ่งร้อยลำที่คนหนึ่งร้อยคนลงทุนกู้จากสถาบันการเงิน ?เพื่อใช้ออกทะเลไปจับปลา เมื่อมีเรือออกทะเลไปจับปลามากขนาดนี้ ปลาเริ่มออกลูกไม่ทันและโตไม่ทัน เรือแต่ละลำที่ออกทะเลไปก็เริ่มจับปลาได้น้อยลงเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ขายปลาได้กำไรไม่พอที่จะผ่อนหนี้สถาบันการเงิน สถาบันการเงินก็เริ่มมีหนี้เสีย ?แถมเรือบางลำออกไปหาปลาไกลจนล่วงล้ำเข้าไปในน่านน้ำของประเทศอื่นแล้วถูกจับ ก็ยิ่งไม่มีเงินมาผ่อนหนี้

สมมุติตัวอย่างทำนองเดียวกัน ?นาย ค.กู้เงินสามสิบล้านบาทมาจากสถาบันการเงินด้วยอัตราดอกเบี้ย 8% เช่นกัน ?เพื่อทำสัมปทานทำป่าไม้ คิดเป็นดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายเดือนละ 200,000 บาท นาย ค.จึงเร่งตัดต้นไม้ใหญ่ๆ ในป่าเดือนละ 500 ต้นเพื่อจะได้ไม้ปริมาณมากพอที่จะมาขายให้ได้กำไรพอที่จะผ่อนหนี้สถาบันการเงินทุกเดือน ?แถมยังอาจต้องเผื่อไว้ให้พอจ่ายเบี้ยบ้ายรายทางด้วย นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมรู้เข้าก็ไปท้วงติงนาย ค.ว่า ไม่ควรตัดต้นไม้เกิน 10 ต้นต่อปีเพราะจะปลูกป่าทดแทนขึ้นมาไม่ทัน นาย ค.ถึงแม้ว่าเห็นด้วยและอยากให้ความร่วมมือ ?ก็ไม่สามารถทำตามคำท้วงติงได้ เพราะจะไม่มีรายได้พอไปผ่อนหนี้ ก็ต้องเร่งตัดต้นไม้ในป่าต่อไป ป่าในประเทศก็ต้องหดหายไปเรื่อยๆ ผลที่ตามมาก็คือน้ำท่วมน้ำแล้งซึ่งก่อความเสียหายแก่เกษตรกรรมและเศรษฐกิจ

ตัวอย่างทั้งสองข้างบนนี้ชี้ให้เห็นว่า ?การปล่อยเงินกู้จำนวนยิ่งมากและด้วยอัตราดอกเบี้ยยิ่งสูง ?ทรัพยากรธรรมชาติก็ยิ่งถูกนำมาใช้มากขึ้นและเร็วขึ้น เช่นในกรณีของนาย ค. หากกู้เงินมาหกสิบล้านบาท ?หรือกู้เท่าเดิมแต่ด้วยอัตราดอกเบี้ย 16 % นาย ค. ก็คงต้องเร่งตัดไม้ให้ได้ 1,000 ต้นต่อเดือน เพื่อให้พอจ่ายดอกเบี้ย ?แม้จะเป็นการปล่อยกู้ให้กับกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยตรง ก็ย่อมมีผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปถึงทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในที่สุด ?และเมื่อไปถึงจุดหนึ่งเมื่อทรัพยากรทางธรรมชาติฟื้นตัวไม่ทัน เช่นป่าไม้และปลาในทะเลดังตัวอย่าง เศรษฐกิจก็จะเริ่มมีปัญหา เงินจะเฟ้ออย่างยากที่จะแก้ไข เพราะอาหารการกินจะแพงขึ้น ?ดังตัวอย่างนาย ข.ที่เป็นชาวประมง ปลาในทะเลจะหายากยิ่งขึ้นและราคาปลาก็จะสูงขึ้น หรือดังตัวอย่างนาย ค. ป่าไม้ที่ถูกทำลายจะมาพร้อมกับน้ำท่วมน้ำแล้ง ซึ่งส่งผลเสียหายต่อภาคเกษตรกรรม ?ทำให้ผลผลิตการเกษตรมีราคาแพงขึ้น

ในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่มือใครยาวสาวได้สาวเอา ?และใครๆ ก็ต้องรีบทำกำไรให้มากที่สุดและเร็วที่สุด ?ปล่อยให้เวลาและโอกาสหลุดไปไม่ได้ สถาบันการเงินก็คงหนีไม่พ้นที่จะพยายามทำกำไรให้มากที่สุดและเร็วที่สุดเช่นกัน ?และความพยายามนั้นจะมาพร้อมกับการพยายามปล่อยกู้ให้มากที่สุดและด้วยอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทรุดโทรมลงไปเรื่อยๆ ?และเศรษฐกิจในระยะยาวจะลำบากแน่ ประชาชนเองก็จะถูกกระตุ้นให้กู้ไปบริโภคจนเป็นหนี้เกินตัว หากสถาบันการเงินจะช่วยค้ำจุนเศรษฐกิจที่ยั่งยืนอันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมระยะยาว บทบาทของตนควรจะปรับเปลี่ยนไปเป็นสถาบันที่ไม่มุ่งแสวงหากำไรหรือไม่ ?ควรจะมีกติกาหรือกฎเกณฑ์บางอย่างสำหรับการปล่อยกู้ของสถาบันการเงินมากกว่าที่เป็นอยู่หรือไม่ แทนที่จะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาดเสรี เช่นพอเงินเฟ้อก็เพิ่มอัตราดอกเบี้ย พอเงินฝืดก็ลดอัตราดอกเบี้ย และจะปล่อยกู้มากแค่ไหนกับกิจการประเภทใดก็ได้ ?ซึ่งการพยายามปล่อยสิ้นเชื่อแข่งกันอาจเลยเถิดไปถึงขั้นปล่อยกู้แบบเสี่ยงๆ หรือไม่สุจริต

ในโลกยุคใหม่นี้ที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจและระบบเศรษกิจของมนุษยชาติต่างจากในอดีตมาก ?ศาสนาบาไฮไม่ถือว่าดอกเบี้ยเป็นข้อห้าม แต่ต้องอยู่ในความพอประมาณและความยุติธรรม เพราะดอกเบี้ยเงินฝากช่วยชดเชยค่าของเงินที่ลดลงจากเงินเฟ้อ ?และสถาบันการเงินก็จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายในการบริหารเงิน ซึ่งรายได้จากดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายนี้ แต่ดอกเบี้ยไม่ควรถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความร่ำรวยในลักษณะที่เป็นการได้เงินมาโดยไม่มีผลผลิต ?ไม่ทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นหรือสังคมดังที่กล่าวไว้แล้วตอนต้น :

?

หากไม่อนุญาตให้มีดอกเบี้ย ?กิจการ (ธุรกิจ) ทั้งหลายจะถูกจำกัดและขวางกั้น…ยากที่จะพบใครที่จะให้ผู้อื่นยืมเงินบนหลักการการ์ดี ฮัสซาน (ตามตัวอักษรคือ ?เงินกู้ที่ดี? ?นั่นคือเงินที่ให้ไปก่อนโดยไม่มีดอกเบี้ย ?และจ่ายคืนตามความยินดีของผู้ยืม) ดังนั้นด้วยความโปรดปรานต่อคนรับใช้ทั้งหลาย ?เราได้กำหนด ?กำไรจากเงิน? ให้นำมาใช้กันในการดำเนินธุรกิจอื่นๆ ที่ทำกันอยู่ในหมู่ประชาชน ?นั่นคือ…เป็นที่อนุญาต ชอบด้วยกฎหมายและบริสุทธิ์ ที่จะคิดดอกเบี้ยจากเงิน…แต่เรื่องนี้ต้องทำด้วยความพอประมาณและความยุติธรรม…ปากกาแห่งความรุ่งโรจน์ขอยั้งจากการวางขีดจำกัดของเรื่องนี้ ?ประหนึ่งเป็นอัจฉริยภาพจากที่สถิตของพระองค์และความสะดวกสำหรับคนรับใช้ทั้งหลายของพระองค์ เราเคี่ยวเข็ญมิตรสหายทั้งหลายของพระผู้เป็นเจ้าให้กระทำด้วยความเป็นธรรมและความยุติธรรม และในหนทางที่ความปรานีและความเห็นอกเห็นใจของบรรดาผู้เป็นที่รักของพระองค์ ?จะถูกแสดงให้ปรากฏต่อกันและกัน

??A Baha?i Perspective on Economics of the Future, p.46 พระบาฮาอุลลาห์

เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม

ด้วยผลผลิตทางอุตสาหกรรมมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงกว่าผลผลิตทางเกษตรกรรม ?และดังนั้นจึงช่วยดันตัวเลขการเติบทาเศรษฐกิจได้มากกว่า ผู้บริหารประเทศทั้งหลายจึงมักหลงใหลได้ปลื้มและพยายามส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม ?ซึ่งหมายความว่าจะทำให้ประชาชนมีงานทำมากขึ้นและมีรายได้มากขึ้น จนเป็นที่น่าภาคภูมิของผู้บริหารประเทศ ในสังคมโลกที่วัดความสำเร็จและระดับการพัฒนาของประเทศด้วยตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจและรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากร ?ไม่มีข้อสงสัยว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มากับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเราสะดวกสบายขึ้น และสังคมเจริญก้าวหน้าด้านวัตถุ แต่ถ้าหากเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรมจนเกินขอบเขตของความพอประมาณ ?ตามอุดมการณ์ของทุนนิยมที่จะต้องทำกำไรให้เร็วที่สุดและมากที่สุด นั่นจะส่งผลร้ายมหันต์ : ???

อารยธรรมที่ผู้อรรถาธิบายศิลปะและวิทยาศาสตร์คุยโตโอ้อวดอยู่บ่อยๆ ?หากยอมให้ล่วงเกินขอบเขตของความพอประมาณ จะนำความชั่วร้ายมหันต์มาสู่มนุษย์ ?นี้คือคำเตือนสำหรับเจ้าจากพระผู้เป็นผู้ทรงรอบรู้ ถ้าหากเลยเถิด อารยธรรมจะเป็นแหล่งที่เต็มไปด้วยความชั่วร้าย ?เช่นเดียวกับที่เป็นแหล่งของความดีเมื่อรั้งไว้ในขอบเขตของความพอประมาณ

????????????????????????????Gleanings from the Writings of Baha?u?llah p.342-3 พระบาฮาอุลลาห์

สมมุติว่าโรงงานอุสาหกรรมแห่งหนึ่งก่อตั้งขึ้นมาโดยอาศัยเงินกู้ 200 ล้านบาท ?เพื่อที่จะผลิตสินค้าให้ได้ปริมาณมากพอที่จะมีกำไรพอที่จะจ่ายดอกเบี้ยเดือนละกว่าหนึ่งล้านบาท ?โรงงานนี้จึงต้องเดินเครื่องจักรผลิตสิ้นค้าตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง แทนที่จะทำงานเฉพาะตอนกลางวันแปดชั่วโมงตามปกติ ?พนักงานต้องทำงานล่วงเวลาตอนกลางคืนตามความต้องการของโรงงาน ถึงแม้พนักงานยินดีที่จะทำงานล่วงเวลาเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นไว้ซื้อรถหรือผ่อนบ้านที่ราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ?สุขภาพของตนก็ทรุดโทรมเพราะการทำงานหนักเกินควร และยังอาจได้รับมลพิษในที่ทำงานที่บั่นทอนสุขภาพ คุณภาพชีวิตของพนักงานก็แย่ลง ไม่มีเวลาให้ครอบครัว ไม่มีอยู่กับลูกหรืออบรมสั่งสอนลูก ?ต้องฝากลูกให้ญาติหรือจ้างคนเลี้ยง ซึ่งอาจเป็นปัญหาครอบครัวหรือปัญหาสังคมตามมา

กระบวนการอุตสาหกรรมก่อให้เกิดขยะอุตสาหกรรมที่สลายได้ยากและช้า ?หรือมักต้องเสียค่ากำจัดสูง อีกทั้งยังปล่อยมลพิษลงไปในดิน น้ำหรืออากาศ ?เมื่อสะสมเพิ่มพูนมากขึ้นสิ่งเหล่านี้ทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหายจนถึงขั้นอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพ ?รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากภาคอุตสาหกรรมส่วนหนึ่งต้องแลกด้วยความเจ็บป่วย การบาดเจ็บหรือถึงกับพิการของผู้ใช้แรงงานและประชาชนในชุมชนใกล้คียงกับโรงงานอุตสาหกรรม ?มากน้อยขึ้นกับมาตรฐานความปลอดภัยของอุตสาหกรรมนั้นๆ ค่าใช้จ่ายสำหรับการเยียวยาความเจ็บป่วย บาดเจ็บหรือพิการดังกล่าว ซึ่งในความเป็นจริงนั้นคือความสูญเสีย ?แต่ก็สามารถนำมาคิดเป็นผลผลิตของโรงพยาบาลและธุรกิจทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง เช่นรายได้ของโรงพยาบาลเอกชลและบริษัทจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ จากการดูแลรักษาความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม ?ถูกนำไปบวกกับรายได้ประชาชาติช่วยให้ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงขึ้น การเผาผลาญเชื้อเพลิงของรถยนต์และโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งทำให้โลกร้อนและก่อมลพิษทางอากาศ ทำให้การดำรงชีวิตยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นเช่นต้องติดเครื่องปรับอากาศที่บ้านและที่ทำงาน ?เช่นกันต่าใช้จ่ายนี้ถูกนำมาคิดเป็นผลิต เช่นรายได้ที่เพิ่มขึ้นของโรงงานและผู้จัดจำหน่ายเครื่องปรับอากาศ ถูกนำไปบวกกับรายได้ประชาชาติช่วยให้ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงขึ้น ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนที่เพิ่มขึ้นมาพร้อบกับปัญหาสังคมและอาชญากรรม สามารถทำให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจสูงขึ้น ?เช่นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งกล้องและสัญญาณกันขโมย ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนี้คือรายได้ของบริษัทรับติดตั้งสัญญาณกันขโมยดังกล่าว ที่ช่วยทำให้ตัวเลขการเติบโตทางเศณษฐกิจสูงขึ้น อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ที่เฟื่องฟูที่ช่วยดันตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น ต้องแลกด้วยการตัดไม้ทำลายป่าที่นำไปสู่น้ำท่วมน้ำแล้งและภูมิอากาศแปรปรวน ?และน้ำท่วมที่รุนแรงทำให้บ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างเสียหาย แต่ความเสียหายนี้ก็ช่วยให้ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งสูงขึ้นจากการที่ธุรกิจก่อสร้างมีงานซ่อมแซมเพิ่มขึ้น และส่วนหนึ่งก็เพิ่มขึ้นบนกองหนี้ที่กู้มาซ่อมแซมอาคารบ้านเรือน

การเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมจนเกินความพอประมาณ ?เกินกว่าธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะรับผลกระทบได้ ?ในที่สุดแล้วจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนทางสังคมและเศรษฐกิจที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตหนักขึ้นทุกที ?แต่กระนั้นตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจก็ยังเพิ่มขึ้นไปได้เรื่อยๆ เป็นภาพลวงตาให้คิดว่าการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจเดินมาถูกทางแล้ว ?ซึ่งเป็นปัญหาไม่ใช่แค่ระดับประเทศ แต่เป็นปัญหาระดับโลก แม้โลกจะร้อนขึ้นทุกวันและชั้นโอโซนก็ถูกทำลายมากขึ้น ซึ่งเป็นที่ยอมรับมากขึ้นแล้วว่า ?มีสาเหตุใหญ่มาจากการปล่อยมลพิษสู่บรรยากาศจากการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ประเทศทั้งหลายก็ไม่สามารถดำเนินมาตรการลดการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อลดการปล่อยมลพิษได้มากพอและเร็วพอที่หยุดยั้งอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงขึ้น ?เพราะมูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมเหล่านั้นสูงมาก ซึ่งหากลดการผลิตอย่างฮวบฮาบเพื่อให้ทันการณ์ จะทำให้คนจำนวนมากตกงาน อีกทั้งรายได้ของอุตสาหกรรมนั้นๆ ที่กู้เงินมาลงทุนจำนวนมหาศาล จะลดลงอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถผ่อนหนี้สถาบันการเงิน ?ทำให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จนอาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของสถาบันการเงิน มนุษยชาติมาถึงทางตันอย่างหาทางออกไม่ได้แล้วจะต้องเตรียมตายหมู่หรือไม่ หรือยังกลับหลังหันทันโดยชะลอการพัฒนาอุตสาหกรรม แล้วส่งเสริมการพัฒนาเกษตรกรรมให้มากขึ้น ?การพัฒนาเศรษฐกิจจะยั่งยืนได้ต้องให้การพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นรองต่อการพัฒนาเกษตรกรรม ซึ่งควรได้รับการส่งเสริมอย่างเพียงพอถึงขนาดที่ เกษตรกรจะอยู่ได้ไม่หันหลังให้กับอาชีพของตน ธรรมลิขิตบาไฮกล่าวไว้ว่า :

เกษตรกรรมเป็นเรื่องที่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ?เพราะเกษตรกรรมเป็นวิทยาการที่ประเสริฐและคือการบูชา ?หากบุคคลใดชำนิชำนาญในวิทยาการนี้ เขาจะเป็นหนทางจัดหาความสุขสบายสำหรับประชาชนจำนวนนับไม่ถ้วน ?ยิ่งไปกว่านั้น เกษตรกรรมยังส่งเสริมการอนุรักษ์สมดุลของระบบนิเวศน์ของโลก

????????????????The Universal House of Justice?s letter of 31 March 1985 สภายุติธรรมสากล

หากเกษตรกรรมได้รับการส่งเสริมทั้งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ?การลดต้นทุน ไปจนถึงการทำตลาดผลิตผลทางการเกษตร จนเกษตรกรหายขัดสนและมีรายได้เพิ่มขึ้น ?กำลังซื้อและการจับจ่ายใช้สอยของเกษตรกรที่เพิ่มขึ้น จะเพิ่มรายได้ให้กับคนชนชั้นอื่นด้วย : ?

การแก้ปัญหาเริ่มต้นที่หมู่บ้าน ?และเมื่อหมู่บ้านได้รับการปฏิสังขรณ์ ?เมื่อนั้นเมืองก็จะได้รับการปฏิสังขรณ์ด้วย ?ความมุ่งหมายคือ ในแต่ละหมู่บ้านจะมีการสร้างคลังเก็บ ?ในภาษาของศาสนานี้เรียกว่าสำนักการคลัง นั่นคือคลังสากลที่เริ่มต้นในหมู่บ้าน ?การบริหารคลังเก็บนี้อาศัยคณะกรรมการที่เป็นคนเฉลียวฉลาดของชุมชนและกิจการทั้งหมดจะถูกกำกับโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนี้

A Baha?i Perspective on Economics of the Future, p.39 พระอับดุลบาฮา

ดังที่กล่าวไว้ข้างตน ?ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่เร่งพัฒนาอุตสาหกรรมจนเร็วเกินควร ?จะก่อให้เกิดปัญหาความเลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ คนยากจนทวีจำนวนขึ้น ?เป็นปัญหาสังคมที่ทำให้ครอบครัวอ่อนแอ และตามมาด้วยปัญหาการดูแลคนชรา ?คนพิการและเด็กกำพร้าที่ถูกทอดทิ้ง ซึ่งนับวันจะเกินกำลังกว่าหน่วยงานและงบประมาณของรัฐจะรับมือได้ ?ยุทธศาสตร์ในการจัดการกับปัญหาเหล่านี้ต้องมุ่งมาที่การปูพื้นเกษตรกรรมให้มั่นคง และพัฒนาชุมชนเกษตรกรรมให้เป็นรากฐานของความเจริญรุ่งเรืองและอารยธรรม ?ธรรมลิขิตบาไฮกล่าวไว้ว่า : ?

รากฐานของชุมชนคือเกษตรกรรมและการพรวนดิน ?ทุกคนต้องเป็นผู้ผลิต แต่ละคนในชุมชนที่มีความสามารถในการผลิตเท่ากับปัจจัยที่จำเป็นสำหรับตน ?จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถ้ารายได้ของเขามากกว่าปัจจัยที่จำเป็น เขาต้องจ่ายภาษีจนกระทั่งเกิดการปรับให้เข้าที่ ?กล่าวคือ ความสามารถในการผลิตของคนเราและปัจจัยที่จำเป็นสำหรับเขาจะถูกเกลี่ยให้เสมอกันโดยการเก็บภาษี หากผลผลิตของเขามากกว่า ?เขาจะจ่ายภาษี หากปัจจัยที่จำเป็นสำหรับเขามากกว่าที่เขาผลิตได้ เขาจะได้รับจำนวนหนึ่งที่เพียงพอที่จะปรับให้เข้าที่หรือเสมอกัน ?ดังนั้นภาษีจะเป็นสัดส่วนกับความสามารถและการผลิต และจะไม่มีคนยากไร้ในชุมชน

Economics, Agriculture and Related Subjects, Compilation 2000, no.9 ?พระอับดุลบาฮา ?

ธรรมลิขิตบาไฮได้ให้รายละเอียดของแนวทางปฏิบัติเพื่อพัฒนาชุมชนเกษตรกรรมให้อยู่ได้ด้วยตนเองอย่างพอเพียง ?มีความสุขสบายทั่วหน้าทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจว่า :

ปัญหาเศรษฐกิจต้องเริ่มต้นที่เกษตรกร ?และจากนั้นขยายไปถึงชนชั้นอื่นๆ เนื่องด้วยจำนวนเกษตรกรมีมากกว่าชนชั้นอื่นทั้งหมดเป็นอย่างมาก ?ดังนั้นเป็นการเหมาะสมที่จะเริ่มต้นที่เกษตรกรในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ เพราะเกษตรกรคือปฏิบัติการแรกที่แข็งขันในสังคมมนุษย์ ?กล่าวโดยย่อ ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการที่มาจากหมู่คนที่เฉลียวฉลาดในทุกหมู่บ้าน และกิจการต่างๆ ของหมู่บ้านควรอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการนี้ ?ทำนองเดียวกันคลังเก็บทั่วไปควรได้รับการก่อตั้งและแต่งตั้งเลขานุการ ณ เวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตภายใต้การกำกับของคณะกรรมการนี้ เปอร์เซ็นต์ส่วนหนึ่งจากพืชผลที่เก็บเกี่ยวได้ทั้งหมดควรจัดมาให้คลังเก็บนี้

คลังเก็บมีรายได้เจ็ดอย่าง : อากรหนึ่งในสิบ ?ภาษีสัตว์ ทรัพย์สินที่ไม่มีผู้สืบมรดก ?ของสูญหายทั้งหมดที่พบซึ่งตามหาเจ้าของไม่ได้ ?หนึ่งในสามของสิ่งมีค่าทั้งหมดที่พบเจอโดยไม่รู้เจ้าของ ?หนึ่งในสามของผลผลิตของเหมืองแร่ทั้งหมด และการบริจาคโดยสมัครใจ

คลังเก็บนี้มีรายจ่ายเจ็ดอย่างเช่นกัน :

  1. ค่าใช้จ่ายทั่วไปในการดำเนินการของคลังเช่น ?เงินเดือนของเลขานุการและการบริหารสาธารณสุข
  2. อากรหนึ่งในสิบให้แก่รัฐบาล
  3. ภาษีสัตว์ให้แก่รัฐบาล
  4. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า
  5. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการบ้านผู้ทุพพลภาพ
  6. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการโรงเรียน
  7. การจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อจัดหาสิ่งจำเป็นให้แก่คนยากไร้

รายได้แรกคืออากรหนึ่งในสิบ ?ควรเก็บดังต่อไปนี้ ตัวอย่างเช่นหากคนหนึ่งมีรายรับห้าร้อยดอลล่าห์ ?และมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเท่ากัน จะไม่มีการเก็บอากรหนึ่งในสิบจากเขา ?หากอีกคนหนึ่งมีค่าใช้จ่ายห้าร้อยดอลล่าห์ ขณะที่มีรายรับหนึ่งพันดอลล่าห์ ?จะเก็บจากเขาหนึ่งในสิบเพราะเขามีมากเกินความจำเป็นของตน หากเขาให้หนึ่งในสิบของที่ส่วนเหลือ ?การทำมาหากินของเขาจะไม่เสียหาย หากอีกคนหนึ่งมีค่าใช่จ่ายหนึ่งพันดอลล่าห์ และมีรายรับห้าพันดอลล่าห์ ?เนื่องด้วยเขามีเหลืออีกสี่พันดอลล่าห์ เขาจะต้องให้หนึ่งครึ่งในสิบ หากอีกคนหนึ่งมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นหนึ่งพันดอลล่าห์ ?แต่มีรายรับหนึ่งหมื่นดอลล่าห์ จะต้องเก็บจากเขาสองในสิบของส่วนที่เหลือ เพราะส่วนที่เหลือของเขาเป็นเงินจำนวนมาก แต่หากอีกคนหนึ่งมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสี่หรือห้าพันดอลล่าห์ ?และมีรายได้หนึ่งแสนดอลล่าห์ จะต้องเก็บจากเขาหนึ่งในสี่ ในทางตรงกันข้ามหากคนหนึ่งมีรายได้สองร้อยดอลล่าห์ แต่ที่จำเป็นจริงๆ สำหรับการทำมาหากินของเขาคือห้าร้อยดอลล่าห์ โดยมีข้อแม้ว่าเขาไม่ได้ละเลยการงานของตน ?หรือไร่นาของเขาไม่ได้รับพรด้วยพืชผลที่เก็บเกี่ยวได้ คนเช่นนี้ต้องรับความช่วยเหลือจากคลังทั่วไป เพื่อว่าเขาจะไม่ขัดสนและมีชีวิตที่สบาย

เงินจำนวนหนึ่งจากคลังเก็บทั่วไปต้องกันไว้สำหรับเด็กกำพร้าของหมู่บ้าน ?และจำนวนหนึ่งสำหรับผู้ทุพพลภาพ เงินจำนวนหนึ่งจากคลังนี้ต้องจัดให้สำหรับบรรดาผู้ที่ขัดสนและไม่สามารถทำมาหากิน ?และจำนวนหนึ่งสำหรับระบบการศึกษาของหมู่บ้าน และจำนวนหนึ่งต้องกันไว้สำหรับการบริหารสาธารณสุข หากมีสิ่งใดเหลือในคลังเก็บนี้ ?สิ่งนั้นต้องโอนไปให้คลังทั่วไปของชาติสำหรับการใช้จ่ายระดับชาติ

?????????????????????Economics, Agriculture and Related Subjects, Compilation 2000, no.9 ?พระอับดุลบาฮา ?

ในเรื่องของปัญหาเศรษฐกิจ ?เป็นที่กล่าวไว้แล้วอย่างย่อ ?และพื้นฐานของเรื่องนี้ได้รับการอธิบายไว้แล้ว ?ขณะที่รายละเอียดของเรื่องนี้จะถูกกำหนดโดยสภายุติธรรมสากล ?ในทุกหมู่บ้านคณะกรรมการสำนักการคลัง (คลังเก็บ) จะกำกับรายได้ของสำนักการคลังเช่นอากรหนึ่งในสิบ ?ภาษีสัตว์ ฯลฯ ในทุกหมู่บ้านจะมีการจัดหาคลังเก็บและเจ้าพนักงานดูแลรับผิดชอบคลังเก็บนี้ ขณะที่บุคคลเด่นดังของหมู่บ้านจะมาชุมนุมกันและก่อตั้งคณะกรรมการ ?และทิศทางและกิจการต่างๆ ของหมู่บ้านจะมอบหมายให้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของคณะกรรมการและเจ้าพนักงานดังกล่าว พวกเขาจะดูแลรับผิดชอบปัญหาทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับหมู่บ้าน ?และรายได้ทั้งหลายของคลังเก็บเช่นอากรหนึ่งในสิบ ภาษีสัตว์และรายได้อื่นๆ จะถูกรวบรวมไว้ในคลังเก็บนี้ และจ่ายออกไปสำหรับการใช้จ่ายที่จำเป็น

ในเรื่องของการขึ้นอากรหนึ่งในสิบเป็นสองเท่าตามปริมาณของรายได้และพืชผล : เป็นไปไม่ได้ที่จะขึ้นจำนวนอากรหนึ่งในสิบที่จะต้องจ่ายเป็นสัดส่วนตายตัวเมื่อรายได้เพิ่มขึ้นสองเท่า ?ตัวอย่างเช่นชายคนหนึ่งที่มีรายได้ 1,000 ดอลล่าห์และมีค่าใช้จ่าย 500 ดอลล่าห์ ควรจ่ายหนึ่งในสิบของรายได้ของตนนั่นคือ 100 ดอลล่าห์ ?เมื่อรายได้ของเขาไปถึง 2,000 ดอลล่าห์และค่าใช้จ่ายของเขายังอยู่ที่ 500 ดอลล่าห์ เขาไม่สามารถจ่ายสองในสิบของรายได้ของตนนั่นคือ 400 ดอลล่าห์ ?เพราะเป็นเรื่องยาก อย่างมากที่สุดเขาสามารถจ่าย 1.5 ในสิบซึ่งคือ 300 ดอลล่าห์ หากรายได้ของเขาขึ้นไปถึง 4,000 ดอลล่าห์ เขาสามารถให้ 1.75 ในสิบนั่นคือ 700 ดอลล่าห์ ?และหากเขามีรายได้ 8,000 ดอลล่าห์ เขาสามารถจ่ายสองในสิบนั่นคือ 1,600 ดอลล่าห์ และหากรายได้ยังเพิ่มขึ้นไปอีกถึง 16,000 ดอลล่าห์ เขาสามารถจ่ายหนึ่งในสี่ (2.5 ในสิบ) นั่นคือ 4,000 ดอลล่าห์ ?หากรายได้ยังเพิ่มขึ้นไปอีกถึง 32,000 ดอลล่าห์ และอากรหนึ่งในสิบที่จะเก็บจากเขาถูกกำหนดเป็นอัตราส่วนแน่นอน (นั่นคือเพิ่มขึ้นสองเท่าทุกครั้ง) อากรนั้นจะเป็นจำนวนสูงมากซึ่งเขาจะไม่สามารถจ่าย ?เนื่องด้วยการเตรียมการเก็บเกี่ยวต้องมีการใช้จ่ายหลายอย่าง ดังนั้นสำหรับรายได้ 16,000 ดอลล่าห์ จะเก็บจากเขาหนึ่งในสี่ (2.5 ในสิบ) กล่าวอย่างย่อการกำหนดและแยกการจ่ายของทุกคนเป็นส่วนๆ จะจัดแจงตามกาลเวลาและสถานที่โดยสภายุติธรรม

สิ่งที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่าง ?และนี่ไม่ได้หมายความว่าให้บังคับใช้ในลักษณะนี้ตายตัว ?หลักการคือว่าเมื่อความมั่งคั่งของชายคนหนึ่งเพิ่มขึ้น หน้าที่ทางการเงินของเขาควรเพิ่มขึ้นตามสัดส่วน ?เพื่อว่าความร่ำรวยมหาศาลจะไม่สะสมอยู่ในที่เดียว ในลักษณะนี้ความยุติธรรมจะถูกนำมาใช้ระหว่างคนร่ำรวยและคนยากไร้ ?ดังนี้ในด้านหนึ่งจะไม่มีผู้มีหนึ่งพันล้าน และในอีกด้านหนึ่งจะไม่มีคนยากไร้ที่ขัดสนสิ่งจำเป็นสำหรับการยังชีพ ในเรื่องของรายได้ของคลังเก็บ ?สภายุติธรรมต้องพยายามโดยทุกวิธีการที่เป็นไปได้ที่จะเพิ่มรายได้นี้ นั่นคือโดยทุกวิธีการที่ยุติธรรม ทำนองเดียวกับกับการใช้จ่าย หากสิ่งใดก็ตามที่ถือว่าจำเป็นสำหรับหมู่บ้านเช่นการจัดหามาตรการด้านสุขอนามัย ?สภายุติธรรมต้องจัดหาสิ่งที่จำเป็นทั้งหมดเช่นกัน กล่าวอย่างย่อหากทำตามลักษณะนี้ในหมู่บ้าน เด็กกำพร้า ผู้พิการและคนยากไร้ จะมีหนทางยังชีพ การศึกษาจะได้รับการทำนุบำรุง และการนำมาตรการด้านสุขอนามัยมาจะใช้แพร่หลาย

เหล่านี้เป็นเพียงหลักการเบื้องต้น ?สภายุติธรรมจะจัดแจงและขยายหลักการเหล่านี้ให้กว้างออกตามกาลเวลาและสถานที่

Economics, Agriculture and Related Subjects, Compilation 2000, no.10 ?พระอับดุลบาฮา

พระบาฮาอุลลาห์ได้ให้ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับทุกๆ เรื่องที่มนุยษชาติเผชิญอยู่ ?พระองค์ได้ให้คำสอนและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับทุกๆ ปัญหาที่มนุษย์กำลังดิ้นรนต่อสู้ ?ส่วนหนึ่งที่ทรงให้ไว้คือคำสอนในเรื่องของเศรษฐกิจที่ว่า โดยการคิดหาวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าว ?สมาชิกทุกคนในหน่วยการปกครองควรมีความสุขที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีความผาสุกและความสบาย ปราศจากภยันตรายและความเสียหายต่อระเบียบทั่วไปของสิ่งต่างๆ ?ด้วยเหตุนี้จะไม่มีความขัดแย้งหรือการพิพาทเกิดขึ้น

การปลุกระดมและการทะเลาะวิวาทจะไม่เกิดขึ้น ?การแก้ปัญหาคือดังนี้ : ??

ประการแรกและมาก่อนคือหลักการที่ว่า ?สมาชิกทุกคนในหน่วยการปกครองจะได้รับความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกแห่งความเป็นมนุษย์ ?แต่ละคนจะมีสวัสดิการและความผาสุกเป็นที่สุด การจะแก้ปัญหานี้เราต้องเริ่มที่เกษตรกร ซึ่งที่นี่เราจะวางรากฐานของระบบและระเบียบ ?เพราะความสำคัญของการรับใช้ของชนชั้นชาวชนบทและชนชั้นเกษตรกรเหนือกว่าชนชั้นอื่นๆ ในทุกหมู่บ้านต้องมีการก่อตั้งคลังเก็บทั่วไปซึ่งจะมีรายได้บางอย่าง

รายได้อย่างแรกจะเป็นส่วนของสิบหรืออากรหนึ่งในสิบ

รายได้อย่างที่สอง (จะได้มา) จากสัตว์

รายได้อย่างที่สามจากแร่ธาตุ ?กล่าวคือ ทุกเหมืองแร่ที่สำรวจและค้นพบ ?หนึ่งในสามจะเป็นของคลังเก็บที่ไพศาลนี้

รายได้อย่างที่สี่คือดังนี้ : ใครก็ตามที่ตายโดยไม่มีผู้สืบมรดก ?มรดกทั้งหมดของเขาจะเป็นของคลังเก็บทั่วไปนี้

รายได้อย่างที่ห้า ?หากมีการพบทรัพย์สมบัติใดๆ ในที่ดิน ?ทรัพย์สมบัตินั้นควรอุทิศให้แก่คลังเก็บนี้

รายได้ทั้งหมดเหล่านี้จะนำมารวบรวมไว้ในคลังเก็บนี้ ?สำหรับรายได้อย่างแรก ส่วนของสิบหรืออากรหนึ่งในสิบ : เราจะพิจารณาดูเกษตรกรที่เป็นชาวชนบท ?เราจะตรวจสอบดูรายได้ของเขา ตัวอย่างเช่นเราจะหาดูว่าเขามีรายได้ทั้งปีเท่าไร ?และเขามีการใช้จ่ายอะไรบ้าง ทีนี้หากรายรับของเขาเท่ากับการใช้จ่าย จะไม่มีการเก็บจากเกษตรกรผู้นี้ ?นั่นคือเขาจะไม่ถูกเก็บภาษีประเภทใดๆ เพราะเขาจำเป็นต้องใช้รายได้ทั้งหมด เกษตกรอีกคนหนึ่งให้เรากล่าวว่าอาจมีค่าใช้จ่ายขึ้นไปถึงหนึ่งพันดอลล่าห์ ?และมีรายรับสองพันดอลล่าห์ หนึ่งในสิบจะเก็บจากเขาเพราะเขามีเหลือ แต่ถ้าเขามีรายรับหนึ่งหมื่นดอลล่าห์และมีค่าใช้จ่ายหนึ่งพันดอลล่าห์ หรือมีรายรับสองหมื่นดอลล่าห์ ?เขาจะต้องจ่ายภาษีหนึ่งในสี่ หากเขามีรายรับหนึ่งแสนดอลล่าห์และมีค่าใช้จ่ายห้าพันดอลล่าห์ เขาจะต้องจ่ายหนึ่งในสามเพราะยังมีเหลือ เนื่องด้วยเขามีค่าใช้จ่ายห้าพันและมีรายได้หนึ่งแสน ?เช่นหากเขาจ่ายสามหมื่นห้าพันดอลล่าห์เพิ่มจากการใช้จ่ายห้าพันดอลล่าห์ เขาก็ยังเหลืออีกหกหมื่นดอลล่าห์ แต่ถ้าเขามีค่าใช้จ่ายหนึ่งหมื่นและมีรายได้สองแสน เช่นนั้นเขาต้องให้ถึงครึ่งหนึ่ง ?เพราะในกรณีนี้ยังเหลืออีกเก้าหมื่น อัตราดังกล่าวนี้จะกำหนดการจัดเก็บภาษี รายได้ทั้งหมดจากภาษีดังกล่าวจะเป็นของคลังเก็บทั่วไปนี้

จากนั้นต้องมีการพิจารณาสถานการณ์ฉุกเฉินดังต่อไปนี้ : เกษตรกรคนหนึ่งมีค่าใช้จ่ายขึ้นไปถึงหนึ่งหมื่นดอลล่าห์และมีรายได้เพียงห้าพัน ?เขาจะได้รับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นจากคลังเก็บนี้ ห้าพันดอลล่าห์จะถูกจัดสรรให้เขา เพื่อว่าเขาจะไม่ขัดสน

จากนั้นเด็กกำพร้าจะได้รับการดูแล ?ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจะได้รับการดูแล ?ผู้พิการในหมู่บ้าน-ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของพวกเขาจะได้รับการดูแล ?คนยากไร้ในหมู่บ้าน-ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของพวกเขาจะได้รับการชดใช้ ?และสมาชิกคนอื่นๆ ที่ทุพพลภาพด้วยเหตุผลที่ฟังขึ้น-คนตาบอด คนชรา คนหูหนวก ?ความสบายของพวกเขาต้องได้รับการดูแล ?ในหมู่บ้านจะไม่มีใครขัดสนหรือขาดแคลน ทุกคนจะมีชีวิตด้วยความผาสุกและความสบายเป็นที่สุด กระนั้นจะไม่มีความแตกแยกมาก่อกวนระเบียบทั่วไปในหน่วยการปกครอง

ดังนี้ค่าใช้จ่ายและการใช้จ่ายของคลังเก็บทั่วไปเป็นที่ชัดเจนแล้วบัดนี้ ?และกิจกรรมต่างๆ ของคลังนี้เป็นที่เห็นชัด รายรับของคลังเก็บทั่วไปนี้เป็นที่แสดงให้เห็นแล้ว ?ผู้พิทักษ์จำนวนหนึ่งจะได้รับการเลือกตั้งโดยประชาชนในหมู่บ้าน เพื่อมาดูแลกิจการเหล่านี้ เกษตรกรจะได้รับการดูแล ?และหลังจากที่ค่าใช้จ่ายทั้งหมดเหล่านี้ได้รับการชดใช้แล้ว ถ้ายังมีเหลือในคลังเก็บ ต้องโอนไปให้คลังของชาติ ระบบนี้ทั้งหมดถูกจัดดังนี้เพื่อว่า ?ในหมู่บ้านคนยากไร้มากจะมีความสบาย เด็กกำพร้าจะมีชีวิตอย่างมีความสุขและสบายดี กล่าวคือ จะไม่มีใครขัดสน ดังนี้สมาชิกทั้งหมดแต่ละคนของหน่วยการปกครองจะมีชีวิตอย่างสบายและสบายดี

สำหรับเมืองที่ใหญ่กว่าเป็นธรรมดาที่จะมีระบบที่ขนาดใหญ่กว่า ?หากเราลงไปที่การแก้ปัญหานี้ จะมีรายละเอียดยาวมาก

ผลของระบบนี้จะเป็นว่า ?สมาชิกแต่ละคนของหน่วยการปกครองจะมีชีวิตอย่างสบายและมีความสุขที่สุด ?โดยไม่เป็นหนี้บุญคุณใคร กระนั้นจะยังมีระดับต่างๆ อยู่ เพราะในโลกแห่งความเป็นมนุษย์จำเป็นต้องมีระดับต่างๆ ?หน่าวการปกครองอาจเปรียบได้กับกองทัพ ในกองทัพนี้ต้องมีนายพล ต้องมีสิบเอก ต้องมีพลเอก ต้องมีทหารราบ แต่ทุกคนต้องมีความผาสุกและสบายที่สุด

Economics, Agriculture and Related Subjects, Compilation 2000, no.11 ?พระอับดุลบาฮา

ต้องมีกฎหมายเพราะเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ใช้แรงงานจะพอใจกับระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ?พวกเขาจะประท้วงหยุดงานทุกเดือนและทุกปี ในที่สุดแล้วนายทุนจะเป็นฝ่ายสูญเสีย? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?

?????????????????????????A Baha?i Perspective on Economics of the Future, p.26 ?พระอับดุลบาฮา

ในใจกลางของสังคมเอง ?ซึ่งลางร้ายของความฟุ่มเฟือยและความสุรุ่ยสุร่ายที่เพิ่มขึ้น ?กำลังส่งแรงหนุนใหม่ให้กับกองกำลังแห่งปฏิกิริยาและการก่อจลาจล ?ที่กำลังเด่นชัดขึ้นทุกวัน ในสิ่งเหล่านี้และในสิ่งอื่นเรามีเหตุผลเป็นอย่างมากที่จะตื่นตกใจ

A Baha?i Perspective on Economics of the Future, p.28 ?โชกิ เอฟเฟนดิ

สิ่งที่พระอับดุลบาฮากล่าวไว้ข้างบนนี้กว่าหนึ่งร้อยปีที่แล้วและท่านโชกิ เอฟเฟนดิกล่าวไว้เมื่อต้นศตวรรษที่ยี่สิบ ?กำลังปรากฎชัดขึ้นเรื่อยๆ ในหลายดินแดนทั่วโลก การดำรงชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือยของนายทุนบางคน กำลังบาดใจผู้ใช้แรงงานที่ตรากตรำทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยแต่ได้รับค่าจ้างไม่พอจะกิน ?ซึ่งสะสมความคับข้องใจและพร้อมที่จะระเบิดออกมาเป็นการประท้วงหยุดงาน พระอับดุลบาฮากล่าวถึงประเด็นนี้ไว้กว่าหนึ่งร้อยปีที่แล้วว่า :

ปัจจุบันนี้วิธีการเรียกร้องคือการประท้วงหยุดงานและการใช้กำลัง ?ซึ่งผิดอย่างเห็นชัดและทำลายรากฐานแห่งความเป็นมนุษย์ สิทธิ์พิเศษและการเรียกร้องที่ถูกต้องต้องแถลงไว้ในกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ

A Baha?i Perspective on Economics of the Future, p.34 ?พระอับดุลบาฮา

การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจะไม่เกิดขึ้นโดยนายทุนตั้งแถวต่อต้านผู้ใช้แรงงาน ?และผู้ใช้แรงงานตั้งแถวต่อต้านนายทุนโดยการประท้วงหยุดงานและต่อสู้กัน แต่จะเกิดขึ้นโดยความสมัครใจและไมตรีจิตของทั้งสองฝ่าย ?เมื่อนั้นจะได้มาซึ่งเงื่อนไขที่ยุติธรรมอย่างแท้จริงและยั่งยืน…

ในหมู่บาไฮไม่มีวิธีปฏิบัติที่รีดไถ ?จะเอาแต่เงินและไม่ยุติธรรม ไม่มีการเรียกร้องโดยการพยศ ?ไม่มีการปฏิวัติต่อต้านรัฐบาลที่ปกครองอยู่…

ในอนาคตจะเป็นไปไม่ได้ที่คนเราจะกอบโกยเงินทองโดยแรงงานของผู้อื่น ?คนร่ำรวยจะแบ่งด้วยความเต็มใจ พวกเขาจะมาถึงจุดนี้ทีละน้อยโดยธรรมชาติ ?สิ่งนี้จะไม่มีวันสำเร็จโดยสงครามและการหลั่งเลือด

Baha?u?llah and the New Era, p.144-45 พระอับดุลบาฮา

ตามกฎของพระผู้เป็นเจ้า ?ลูกจ้างไม่ควรได้รับเพียงค่าจ้าง ?ไม่เลย พวกเขาควรเป็นหุ้นส่วนในงานทุกอย่าง…

เช่นกันทุกโรงงานที่มีหนึ่งหมื่นหุ้น ?จะให้สองพันจากหนึ่งหมื่นหุ้นนี้แก่ลูกจ้างทั้งหลายของตน ?และจะเขียนชื่อของพวกเขาในหุ้น เพื่อว่าพวกเขาจะมีหุ้น และที่เหลือจะเป็นของนายทุน ?จากนั้นเมื่อสิ้นเดือนหรือสิ้นปี หลังจากที่หักค่าใช้จ่ายและจ่ายค่าจ้างแล้ว เงินที่หามาได้ควรแบ่งให้แก่ทั้งสองฝ่ายตามจำนวนหุ้น

A Baha?i Perspective on Economics of the Future, p.27 ?พระอับดุลบาฮา

ดังนั้นควรมีกฎหมายและข้อบังคับที่ให้คนงานได้รับค่าแรงจากเจ้าของโรงงาน ?และส่วนแบ่งหนึ่งในสี่หรือหนึ่งในห้าของผลกำไรเท่าที่ไม่กระเทือนความต้องการของโรงงาน ?ไม่เช่นนั้นคนงานและเจ้าของโรงงานควรแบ่งกำไรและประโยชน์กันด้วยวิธีอื่นที่เป็นธรรม…กล่าวคือคนงานควรได้รับค่าแรงที่รับ ประกันความอยู่รอด ?และเมื่อพวกเขาหยุดทำงานเพราะสังขารร่วงโรยและช่วยตัวเองไม่ได้ พวกเขาควรได้รับบำนาญที่เพียงพอจากเจ้าของโรงงาน ค่าแรงควรสูงพอเพื่อว่าคนงานจะสามารถอดออมได้บ้างไว้ใช้ในยามคับขันและช่วยตัวเองไม่ได้…

นายทุนควรเก็บเกี่ยวพอควรและคำนึงถึงความผาสุกของผู้ยากไร้และขัดสน ?กล่าวคือคนงานและช่างฝีมือควรได้รับค่าแรงตายตัวแต่ละวัน และได้รับส่วนแบ่งจากผลกำไรโดยรวมของโรงงาน…

ควรมีกฎหมายที่ให้ผลกำไรพอควรแก่เจ้าของโรงงาน ?และให้คนงานมีปัจจัยการดำรงชีวิตและความมั่นคงของชีวิตในอนาคต ?ดังนี้เมื่อพวกเขาสังขารร่วงโรย ชราลง ช่วยตัวเองไม่ได้ และตายโดยทิ้งลูกๆที่เยาว์วัยไว้ ?ลูกๆจะไม่อดตายเพราะความยากจน พวกเขามีสิทธิ์ที่จะได้รับปัจจัยในการดำรงชีวิตเล็กน้อยจากรายได้ของโรงงาน

????????????????????????????????????????????????????????Some Answered Questions, p.275 ?พระอับดุลบาฮา

คำสัมภาษณ์ของพระอับดุลบาฮาได้ระบุถึงสาเหตุของการประท้วงหยุดงาน ?ความไม่เป็นธรรมของค่าตอบแทนสำหรับผู้ใช้แรงงาน ต้องมีหลักเกณฑ์การแบ่งปันกำไรระหว่างนายทุนเจ้าของโรงงานและคนงานที่เป็นธรรมกว่าที่เป็นอยู่ ?และต้องมีกฎหมายบังคับให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อป้องกันไม่ให้นายทุนเอาเปรียบผู้ใช้แรงงาน และไม่ให้ผู้ใช้แรงงานประท้วงหยุดงานและก่อความวุ่นวาย ?ในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฝ่าฝืน ?ศาลยุติธรรมและรัฐบาลมีสิทธิเข้าแทรกแซงเพื่อยุติปัญหาและไม่ให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อส่วนรวมในวงกว้าง :

การประท้วงหยุดงานมีสองสาเหตุ ?หนึ่งเป็นเพราะความโลภสุดโต่งของผู้ผลิตและเจ้าของโรงงาน ?อีกสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะความเกินไป ความมักมากและความดื้อดึงของคนงานและช่างฝีมือ ?ดังนั้นจำเป็นต้องเยียวยาสองสาเหตุนี้ ?

แต่สาเหตุหลักของความยุ่งยากเหล่านี้อยู่ที่กฎหมายของอารยธรรมในปัจจุบัน ?เพราะกฎหมายเหล่านั้นทำให้คนจำนวนน้อยสะสมทรัพย์สมบัติไว้อย่างหาที่เปรียบไม่ได้เกินความจำเป็น ?ขณะที่คนอีกจำนวนมากขัดสน สิ้นไร้ไม้ตอกและอยู่ในทุกขเวทนาที่สุด สิ่งนี้ตรงกันข้ามกับความยุติธรรม ?ความเป็นมนุษย์ ความเป็นธรรม นี้คือยอดสุดของความไม่เป็นธรรม ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เป็นเหตุให้พระผู้เป็นเจ้าพอใจ…

ดังนั้นควรสถาปนากฎหมายและกฎระเบียบเพื่อควบคุมทรัพย์สมบัติที่มากเกินไปของเอกชนบางคน ?และให้สิ่งที่จำเป็นแก่มวลชนผู้ยากไร้นับล้านๆ ดังนี้จะมีความพอประมาณอยู่บ้าง อย่างไรก็ตามความเสมอภาคกันโดยสมบูรณ์เป็นไปไม่ได้เหมือนกัน ?เพราะความเสมอภาคกันโดยสมบูรณ์ในทรัพย์สมบัติ เกียรติ การค้า เกษตรกรรม อุตสาหกรรม ย่อมลงเอยที่ความไม่มีระเบียบ ความอลหม่าน วิถีการดำรงชีวิตที่ยุ่งเหยิง ?และความผิดหวังทั่วหน้า ระบบของชุมชนย่อมถูกทำลายทีเดียว ดังนี้ความยุ่งยากต่างๆ จะเกิดขึ้นเช่นกันเมื่อบังคับใช้ความเสมอภาคที่ไม่สมเหตุผล ดังนั้นเป็นการดีกว่าที่จะสถาปนาความพอประมาณโดยวิธีทางกฎหมายและข้อบังคับ ?เพื่อสกัดกั้นการสะสมทรัพย์สมบัติที่มากเกินไปของบางคน และคุ้มครองสิ่งจำเป็นที่สำคัญสำหรับคนหมู่มาก ตัวอย่างเช่นผู้ผลิตและเจ้าของโรงงานสะสมทรัพย์สมบัติแต่ละวัน และช่างฝีมือผู้ยากไร้ทำได้ไม่พอกินรายวัน นี่คือยอดสุดของความไม่เป็นธรรม ?และไม่มีผู้ที่ยุติธรรมคนใดยอมรับได้ ดังนั้นควรสถาปนากฎหมายและข้อบังคับที่ให้คนงานได้รับค่าจ้างจากเจ้าของโรงงาน และส่วนแบ่งหนึ่งในสี่หรือหนึ่งในห้าของผลกำไรตามความสามารถของโรงงาน หรือหมู่คนงานและผู้ผลิตควรแบ่งผลกำไรและประโยชน์กันอย่างเป็นธรรมด้วยวิธีอื่น ?แท้จริงแล้วเงินทุนและการบริหารจัดการมาจากเจ้าของโรงงาน งานและแรงงานมาจากหมู่คนงาน คนงานควรได้รับค่าจ้างที่รับประกันการยังชีพที่เพียงพอ และเมื่อพวกเขาหยุดทำงานเพราะสังขารร่วงโรยและช่วยตัวเองไม่ได้ พวกเขาควรได้รับเงินยังชีพที่เพียงพอจากรายได้ของอุตสาหกรรม หรือไม่ก็ค่าจ้างควรสูงพอที่จะให้คนงานดีใจกับจำนวนที่ตนได้รับ ?เพื่อว่าพวกเขาจะสามารถเก็บออมได้เล็กน้อยไว้ใช้ในยามขัดสนและช่วยตัวเองไม่ได้

เมื่อจัดแจ้งเรื่องต่างๆ ได้ดังนี้ ?เจ้าของโรงงานจะไม่เก็บออมทรัพย์สมบัติรายวันที่ไม่จำเป็นสำหรับตนเลยอีกต่อไป ?(เพราะหากทรัพย์สมบัติไม่ได้สัดส่วน นายทุนย่อมแบกภาระที่น่าหวั่นไม่ไหวและตกอยู่ในความยุ่งยากและลำบากที่สุด ?การบริหารทรัพย์สมบัติที่มากเกินไปนั้นยากมาก และทำให้มนุษย์หมดกำลังตามธรรมชาติ) คนงานและช่างฝีมือจะไม่ตกอยู่ในทุกขเวทนาและความขัดสนแสนสาหัสอีกต่อไป ?พวกเขาจะไม่จำนนต่อความขาดแคลนในบั่นปลายของชีวิตอีกต่อไป

ดังนั้นเป็นที่ชัดเจนและประจักษ์ว่า ?การแบ่งทรัพย์สมบัติที่มากเกินไปในหมู่คนจำนวนน้อยขณะที่คนหมู่มากอยู่ในทุกขเวทนานั้น ?เป็นความไม่เป็นธรรมและไม่ยุติธรรม ทำนองเดียวกันความเสมอภาคกันโดยสมบูรณ์ย่อมเป็นอุปสรรคต่อชีวิต ?ความผาสุก ระเบียบและความสงบสุขของมนุษยชาติ ความพอประมาณเป็นสิ่งที่ดีกว่าสำหรับปัญหานี้ ซึ่งอยู่ที่ความพอประมาณของนายทุนในการทำกำไรและคำนึงถึงความผาสุกของผู้ยากไร้และขัดสน ?กล่าวคือ คนงานและช่างฝีมือควรได้รับค่าแรงตายตัวรายวัน และได้รับส่วนแบ่งจากผลกำไรโดยรวมของโรงงาน

ในเรื่องของสิทธิ์ร่วมกันของผู้ผลิต ?คนงานและช่างฝีมือ ย่อมเป็นการดีที่จะสถาปนากฎหมายที่ให้ผลกำไรพอประมาณแก่ผู้ผลิต ?และให้คนงานมีปัจจัยการดำรงชีวิตและความมั่นคงในอนาคต ดังนี้เมื่อพวกเขาสังขารร่วงโรยและหยุดทำงาน ?ชราลงและช่วยตัวเองไม่ได้ หรือทิ้งลูกๆที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะไว้ พวกเขาและลูกๆ จะไม่อดตายเพราะความยากจนเกินไป ?และจากรายได้ของโรงงานนี้เองที่พวกเขามีสิทธิ์ที่จะได้รับส่วนแบ่งไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด เพื่อการดำรงชีวิต

ทำนองเดียวกันคนงานไม่ควรอ้างสิทธ์เกินควรและใช้ความรุนแรงขัดขืน ?ไม่ควรเรียกร้องเกินสิทธิ์ของตน พวกเขาไม่ควรประท้วงหยุดงานอีกต่อไป ?พวกเขาควรเชื่อฟังและยอมจำนน และไม่ขอค่าจ้างที่สูงลิ่ว แต่สิทธิ์ที่สมเหตุผลที่มีต่อกันและกันของทั้งสองฝ่ายที่เป็นภาคีกัน ?จะถูกกำหนดตามกฎหมายและตราไว้ตามธรรมเนียมด้วยกฎหมายที่ยุติธรรมและเป็นกลาง ในกรณีที่ฝ่ายหนึ่งฝ่าฝืน ศาลยุติธรรมควรพิพากษาลงโทษผู้ฝ่าฝืน ?และฝ่ายบริหารควรบังคับให้เป็นไปตามคำตัดสิน ดังนี้ระเบียบจะกลับคืนมาและความยุ่งยากจะยุติ การเข้าแทรกแซงความยุ่งยากที่รอการสะสางระหว่างผู้ผลิตและคนงานโดยศาลยุติธรรมและรัฐบาล ?เป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะเหตุผลที่ว่ากิจการต่างๆ ในปัจจุบันระหว่างคนงานและผู้ผลิต ไม่สามารถนำมาเปรียบกับกิจการธรรมดาระหว่างเอกชน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับสาธารณะและรัฐบาลไม่ควรหมดเวลาไปกับเรื่องดังกล่าว ?ในความเป็นจริงแล้วถึงแม้ว่าดูเหมือนเป็นเรื่องของเอกชน ความยุ่งยากเหล่านี้ระหว่างทั้งสองฝ่ายก่อให้เกิดความเสียหายต่อสาธารณะ เพราะการค้า อุตสาหกรรม เกษตรกรรม และกิจการทั่วไปของประเทศเชื่อมโยงกันอยู่อย่างใกล้ชิด ?หากหนึ่งในกิจการเหล่านี้เสียหายจากการกระทำที่ไม่ชอบ ความเสียหายจะกระทบคนหมู่มาก ดังนี้ความยุ่งยากระหว่างคนงานและผู้ผลิตจะเป็นเหตุของความเสียหายทั่วไป

ดังนั้นศาลยุติธรรมและรัฐบาลมีสิทธิ์ที่จะแทรกแซง ?เมื่อมีความยุ่งยากเกิดขึ้นระหว่างสองคนในเรื่องของสิทธิ์ส่วนบุคคล ?จำเป็นที่บุคคลที่สามจะเข้ามายุติปัญหา นี้เป็นส่วนของรัฐบาล ดังนั้นปัญหาการประท้วงหยุดงานซึ่งก่อความยุ่งยากในประเทศ ?และมักเชื่อมโยงกับการก่อกวนจนเกินไปของคนงานและความโลภของผู้ผลิต จะถูกปล่อยไว้ได้อย่างไร?

พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงความดีงาม! ?เป็นไปได้หรือที่ใครคนหนึ่งสามารถพักผ่อนและดำรงชีวิตอย่างสบายในคฤหาสถ์หรู ?เมื่อเขาเห็นว่าเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ กำลังอดอยากและขัดสนทุกสิ่ง? ผู้ที่พบอีกคนหนึ่งตกอยู่ในทุกขเวทนาแสนสาหัส ?จะเพลินไปกับทรัพย์สมบัติของตนได้หรือ? นั่นเองที่ทำไมในศาสนาของพระผู้เป็นเจ้า เป็นที่บัญญัติและกำหนดให้บรรดาผู้มั่งคั่งให้ส่วนหนึ่งของทรัพย์สมบัติของตน ?เพื่อประทังผู้ยากไร้และโชคร้าย นี้คือรากฐานของศาสนาของพระผู้เป็นเจ้าและผูกมัดทุกคน

เนื่องด้วยในหนทางนี้มนุษย์ไม่ถูกบังคับโดยรัฐบาล ?แต่กำลังแสดงความใจดีต่อคนยากไร้ด้วยความสมัครใจและชื่นบาน ?การกระทำดังกล่าวน่าสรรเสริญอย่างยิ่ง เป็นที่รับรองและน่ายินดี

???????????????????????????????????????????????????????Some Answered Questions, p.273-7 ?พระอับดุลบาฮา

รัฐบาลทั้งหมดของโลกต้องสามัคคีกันและจัดตั้งสภา ?ซึ่งสมาชิกทั้งหลายของสภานี้ควรได้รับเลือกตั้งจากรัฐสภาและคนชั้นสูงของชาติ ?เหล่านี้ต้องวางแผนด้วยอำนาจและความสุขุมรอบคอบเป็นที่สุด เพื่อว่านายทุนจะไม่สูญเสียอย่างหนักและผู้ใช้แรงงานจะไม่ขัดสน ?พวกเขาควรออกกฎหมายด้วยความพอประมาณเป็นที่สุด จากนั้นประกาศต่อสาธารณชนว่าสิทธิ์ต่างๆ ของคนทำงานจะได้รับการปกปักรักษาอย่างเข้มแข็ง ?สิทธิ์ของนายทุนจะได้รับความคุ้มครองเช่นกัน เมื่อทั้งสองฝ่ายรับแผนทั่วไปดังกล่าวด้วยความประสงค์ของตน หากมีการประท้วงหยุดงานเกิดขึ้น ?รัฐบาลทั้งหมดของโลกควรร่วมกันต้านทาน มิฉะนั้นแล้วปัญหาแรงงานจะนำไปสู่การทำลายอย่างมาก

A Baha?i Perspective on Economics of the Future, p.14-5 ?พระอับดุลบาฮา

วิสัยทัศน์ของพระอับดุลบาฮาที่กล่าวไว้ข้างล่างนี้ ?อาจน่าตกใจมากสำหรับนายทุนเจ้าของกิจการใหญ่ๆ ในปัจจุบัน ?แต่จะไม่น่าตกใจสำหรับนายทุนในอนาคตที่จะได้รับแรงบันดาลใจจากอานุภาพธรรมของศาสนาบาไฮ ?และจะมีส่วนร่วมหรือยินยอมให้มีการออกกฎหมายที่กล่าวไว้ข้างล่างนี้อย่างเต็มใจด้วยเมตตาธรรม ?และนั่นจะเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ไปสู่ระบบเศรษฐกิจของพระผู้เป็นเจ้า ที่จะช่วยลดช่องว่างระหว่างคนร่ำรวยและคนยากจนได้อย่างมีนัยสำคัญ :

??

ในอนาคตผู้ผลิตจะไม่ได้รับอนุญาตให้ทิ้งทรัพย์สินทั้งหมดไว้เป็นมรดกให้แก่ครอบครัวของตน ?จะมีการออกกฎหมายทำนองว่า เขาต้องทิ้งทรัพย์สินของตนเพียงหนึ่งในสี่ไว้เป็นมรดกให้แก่ครอบครัวของตน ?และอีกสามในสี่ต้องเป็นของคนงานทั้งหลายของโรงงาน ซึ่งเป็นผู้สร้างความมั่งคั่งของเขา

A Baha?i Perspective on Economics of the Future, p.64 ?พระอับดุลบาฮา

การขจัดความมั่งคั่งและความยากจนที่มากเกินไป

เป็นสิ่งสำคัญที่จะจำกัดความร่ำรวย ?และสำคัญเช่นกันที่จะจำกัดความยากจน ความสุดขีดของทั้งสองอย่างไม่ดี ?อยู่ระหว่างกลางดีที่สุด หากเป็นสิ่งถูกต้องที่นายทุนจะครอบครองทรัพย์สินมากมาย ?เป็นความยุติธรรมเช่นกันที่คนงานของเขาควรมีวิธียังชีพอย่างเพียงพอ

นักการเงินที่มั่งคั่งไม่ควรมีอยู่โดยที่มีคนยากจนข้นแค้นอยู่ใกล้ๆ เขา ?เมื่อเราเห็นความยากจนถึงขั้นอดอยาก แน่นอนว่าต้องมีการกดขี่ที่ไหนสักแห่ง ?คนเราต้องตื่นตัวในเรื่องนี้ และไม่รอช้าอีกต่อไปที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพที่นำความยากจนอันน่าสังเวชมาสู่ประชาชนจำนวนมหาศาล ?คนร่ำรวยต้องแบ่งปันความเหลือเฟือ เห็นใจ และรู้จักเห็นอกเห็นใจอย่างฉลาด นึกถึงบรรดาผู้เศร้าสร้อยที่ทุกข์ทรมานเพราะขาดแคลนปัจจัยการดำรงชีวิต

ต้องมีกฎหมายพิเศษเพื่อจัดการกับความร่ำรวยและความยากจนที่สุดขีด ?สมาชิกรัฐบาลควรพิจารณากฎของพระผู้เป็นเจ้าเวลาวางแผนการปกครองประชาชน ?สิทธิ์โดยทั่วไปของมนุษยชาติต้องได้รับการปกป้องและปกปักรักษา

รัฐบาลของประเทศต่างๆ ควรเชื่อฟังกฎของพระผู้เป็นเจ้าที่ให้ความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมแก่ทุกคน ?นี้คือหนทางเดียวที่ความมั่งคั่งที่เกินความจำเป็น และความยากจนที่น่าสังเวช น่าท้อใจ และไร้ศักดิ์ศรีจะหมดไปได้ ?จนกว่าจะทำเช่นนี้ กฎของพระผู้เป็นเจ้าจึงจะเป็นที่เชื่อฟัง

?????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????Paris Talks, p.153-4 ?พระอับดุลบาฮา

ภาตใต้ระบบและการปกครองในปัจจุบัน ?คนยากไร้อัตคัดขัดสนและลำบากเหลือทน ?ในขณะที่บางคนใช้ชีวิตที่หรูหราและมีมากล้นเกินความจำเป็น ?ความไม่เท่าเทียมของสิทธิ์และส่วนแบ่งนี้คือหนึ่งในปัญหาสำคัญที่ฝังรากลึกในสังคม ?เป็นที่ประจักษ์ว่าจำเป็นจะต้องมีการแบ่งสันปันส่วนให้เท่าเทียมกัน เพื่อว่าทุกคนจะได้รับสิทธิ์และมีชีวิตที่สุขสบาย ?การเยียวยานั้นต้องออกกฎหมายปรับเงื่อนไขเสียใหม่ โดยไม่ถูกบังคับ คนร่ำรวยต้องปรานีและเต็มใจช่วยคนยากไร้ไม่ให้ขัดสน ?โลกจะสงบได้ด้วยการสถาปนาหลักธรรมนี้ในหมู่มนุษย์

??????????????????????????????????????????The Promulgation of Universal Peace, p.107 ?พระอับดุลบาฮา

หนึ่งในหลักธรรมสำคัญของพระบาฮาอุลลาห์ที่จะนำความสงบสุขมาสู่สังคม ?หนุนนำสันติภาพของโลก ซึ่งพระอับดุลบาฮาได้ประกาศเน้นย้ำไว้ระหว่างการเยือนโลกตะวันตกคือ ?การขจัดความมั่งคั่งและความยากจนที่มากเกินไป ไม่เช่นนั้นแล้วสังคมระส่ำระสายหนักขึ้นเรื่อยๆ ?นอกจากนี้คนจนจำนวนหนึ่งจะถูกชักจูงให้ไปร่วมขบวกการเลวร้ายต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนในสังคมเช่น ?ขบวนยาเสพติด การก่อการร้าย ฯลฯ ?แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าจะให้ทุกคนมีความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ ?ซึ่งขัดกับธรรมชาติและความจริง

เป็นที่ประจักษ์ว่าเรื่องของคนยากไร้ที่ทนทุกข์และคนร่ำรวยที่ถูกเอาใจจนเกินไป ?เป็นที่อภิปรายโดยนักวิชาการและนักปรัชญาทั้งหลายของโลกเรื่อยมาและจะยังคงอภิปรายต่อไป ?แต่ตราบจนบัดนี้พวกเขายังไม่พบการแก้ปัญหาที่ยากนี้ สิ่งที่คุณเป็นพยานในโลกนี้เช่นหลักฐานต่างๆ ของความโกลาหลครั้งใหญ่ๆ ?และลางทั้งหลายของเหตุการณ์ในอนาคต ล้วนวนอยู่รอบจุดนี้ นั่นคือ การโอดครวญและความวิตกของคนยากไร้ในด้านหนึ่ง และความมั่งมีและมั่งคั่งของคนร่ำรวยในอีกด้านหนึ่ง ?ประโยชน์ที่ปะทะและขัดกันนี้จะยังไม่เปลี่ยนแปลงจนกว่าจะถึงเวลาที่ กฎและบทบัญญัติที่เปิดเผยโดยปากกาที่สูงส่งที่สุดในเรื่องนี้จะถูกนำมาปฏิบัติและบังคับใช้ และการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจบนหลักการทางจิตวิญญาณเป็นไปได้ ?เมื่อนั้นจะมีสันติสุขระหว่างคนร่ำรวยและคนยากไร้ ระหว่างกองกำลังของนายทุนและผู้ใช้แรงงาน เมื่อนั้นคนยากไร้จะได้สิทธิ์ที่ชอบด้วยกฎหมายที่จะมีปัจจัยจำเป็นที่เพียงพอสำหรับตน และคนร่ำรวยจะสามารถใช้ความมั่งคั่งของตนตามที่ตนยินดี ?โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับชีวิตและทรัพย์สินของตน

อย่างไรก็ตามเจตนามิใช่จะกล่าวว่าคนยากไรทั้งหมดจะขึ้นมารวย ?และจะเสมอกับคนร่ำรวย ความคิดเช่นนี้เหมือนกับกล่าวว่าคนเขลาและไม่รู้หนังสือทั้งหมดจะกลายเป็นปราชญ์แห่งยุค ?เป็นผู้รู้ของผู้รู้ แต่เมื่อการศึกษาเป็นเรื่องบังคับและทั่วถึง ความเขลาและความไม่รู้หนังสือจะลดลง และจะไม่มีใครไม่ได้รับการศึกษา

Economics, Agriculture and Related Subjects, Compilation 2000, no.22 ท่านโชกิ เอฟเฟนดิ

ท่านนาย (พระอับดุลบาฮา) กล่าวไว้อย่างแน่ชัดว่า ?ค่าจ้างไม่ควรเท่ากันเพราะว่ามนุษย์มีความสามารถไม่เท่ากัน ?และดังนั้นควรได้รับค่าจ้างตามความสามารถและความรู้จักคิดรู้จักทำที่ต่างกัน

Economics, Agriculture and Related Subjects, Compilation 2000, no.26 ท่านโชกิ เอฟเฟนดิ

ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมเป็นผลมาจากความไม่เท่าเทียมกันตามธรรมชาติของคนเราที่หลีก เลี่ยงไม่ได้ ?มนุษย์มีความสามารถแตกต่างกัน และดังนั้นควรมีสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจต่างกัน

????????????????????????????????A Baha?i Perspective on Economics of the Future, p.13 ท่านโชกิ ?เอฟเฟนดิ

บางคนฉลาดมาก ?บางคนฉลาดระดับธรรมดา ?บางคนไม่ฉลาด ในคนสามระดับนี้มีลำดับแต่ไม่ใช่ความเท่าเทียม ?เป็นไปได้อย่างไรที่ความเฉลียวฉลาดและความโง่จะเท่าเทียมกัน?….

สาระของเรื่องนี้คือ ?ความยุติธรรมสวรรค์จะมาปรากฏในสภาพและกิจการต่างๆของมนุษย์ ?มวลมนุษยชาติจะพบความสุขสบายและความรื่นเริงในชีวิต นี่มิได้หมายความว่าทุกคนจะเท่าเทียมกัน ?เพราะความไม่เท่าเทียมของระดับและความสามารถคือคุณสมบัติของธรรมชาติ….

เพราะชุมชนจำเป็นต้องมีนักการเงิน ?เกษตรกร พ่อค้าและผู้ใช้แรงงาน ดังเช่นกองทัพประกอบ ด้วยผู้บัญชาการ ?นายทหารและพลทหาร จะให้ทุกคนเป็นผู้บัญชาการไม่ได้ จะให้ทุกคนเป็นนายทหารหรือพลทหารไม่ได้ ?ตามแต่ฐานะในโครงสร้างสังคม แต่ละคนต้องมีความสามารถ ปฏิบัติหน้าที่ตรงตามความสามารถ และมีโอกาสสำหรับทุกคนอย่างยุติธรรม

???????????????????A Baha?i Perspective on Economics of the Future, p.19-20 ?พระอับดุลบาฮา

ระดับต่างๆ ของสังคมต้องคงไว้ ?เกษตรกรจะพรวนดินต่อไป นักศิลป์จะทำงานศิลป์ ?นายธนาคารจะจัดหาเงินให้ชาติทั้งหลาย กองทัพจำเป็นต้องมีนายพล ?ร้อยเอกและพลทหาร ระดับต่างๆ ซึ่งแปรตามอาชีพการงานเป็นสิ่งจำเป็น ?แต่ในแผนงานบาไฮนี้ไม่มีความเกลียดชังชนชั้น แต่ละชนชั้นจะได้รับความคุ้มครอง ?และสมาชิกแต่ละคนของหน่วยการปกครองจะมีชีวิตด้วยความสุขและสบายที่สุด งานจะมีให้สำหรับทุกคนและจะไม่มีคนขัดสนให้เห็นบนถนน

Economics, Agriculture and Related Subjects, Compilation 2000, no.15 ?พระอับดุลบาฮา

การใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาความเลื่อมล้ำเกินควรระหว่างคนร่ำรวยและคนยากจนถึงแม้จะจำเป็น ?แต่ก็ต้องอาศัยเมตตาจิตของคนร่ำรวยด้วย มิฉะนั้นแล้วคนร่ำรวยอาจเป็นอุปสรรคขัดขวางการเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ ?ที่จะช่วยลดช่องว่างระหว่างคนร่ำรวยและคนจนเสียเอง หากการเปลี่ยนแปลงนั้นกระทบผลประโยชน์ของตน วจนะเหล่านี้ของพระบาฮาอุลลาห์อาจเป็นแรงบันดาลใจที่เปลี่ยนหัวใจคนร่ำรวยได้ :

ดูกร ?บุตรแห่งมนุษย์! ?จงเผื่อแผ่ความมั่งคั่งของเราให้แก่คนยากไร้ ?เพื่อว่าในสวรรค์เจ้าจะได้รับจากคลังแห่งความงามอันไม่รู้เลือนและขุมทรัพย์แห่งความรุ่งโรจน์อมร ?แต่ชีวิตของเราเป็นพยาน ที่รุ่งโรจน์กว่าคือการสละวิญญาณของเจ้าหากเจ้าเพียงแต่เห็นด้วยตาของเรา

??????????????????????????????????????????????????????????The Hidden Words, Arabic, no.57 พระบาฮาอุลลาห์

ดูกร ?บุตรหลานแห่งธุลี! ?ผู้ยากไร้ถอนหายใจในเวลาเที่ยงคืน ?จงบอกคนร่ำรวยให้รู้ไว้ เพื่อมิให้ความไม่เอาใจใส่พาพวกเขาไปสู่หนทางแห่งความพินาศ ?และพรากพวกเขาจากพฤกษาแห่งความมั่งคั่ง การให้และความเอื้อเฟื้อคือคุณลักษณะของเรา ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ผู้ที่ประดับตนเองด้วยคุณธรรมของเรา

?????????????????????????????????????????????????????????The Hidden Words, Persian, no.49 พระบาฮาอุลลาห์

ดูกร ?บุตรแห่งมนุษย์! เจ้าต้องการทองแต่เราไม่ต้องการให้เจ้าผูกพันกับทอง ?เจ้าคิดว่าตัวเองร่ำรวยเมื่อมีทอง แต่เรารู้ว่าเจ้ามั่งคั่งเมื่อหลุดพ้นจากทอง ?ชีวิตของเราเป็นพยาน! ?นี้คือความรู้ของเราและนั่นคือความเพ้อฝันของเจ้า ?ทางของเราจะไปกับเจ้าได้อย่างไร?

??????????????????????????????????????????????????????????The Hidden Words, Arabic, no.56 พระบาฮาอุลลาห์

ต่อมาพระอับดุลบาฮาได้ขยายความคำสอนนี้ของพระบาฮาอุลลาห์ ?และแนะนำคนร่ำรวยให้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือคนยากจนก่อนจะเกิดความพินาศในสังคม :

คนร่ำรวยต้องปรานีคนยากไร้ ?บริจาคสิ่งที่จำเป็นให้แก่พวกเขาโดยไม่ถูกบังคับให้ทำ

A Baha?i Perspective on Economics of the Future, p.48 พระอับดุลบาฮา

มนุษย์บรรลุถึงความสมบูรณ์โดยการกระทำที่ดีงามที่มาจากความสมัครใจ ?มิใช่ถูกบังคับ การแบ่งปันเป็นความชอบธรรมที่แต่ละคนตัดสินใจทำได้ นั่นคือ ?คนร่ำรวยควรยื่นมือเข้าช่วยคนยากไร้ คนร่ำรวยควรใช้จ่ายทรัพย์สินของตนเพื่อคนยากไร้ด้วยความสมัครใจ ?มิใช่เพราะคนยากไร้ได้สิ่งนี้มาด้วยการใช้กำลัง เพราะผลของการใช้กำลังคือความโกลาหลและความพินาศของระเบียบสังคม ?ส่วนการแบ่งปันโดยสมัครใจ การใช้จ่ายทรัพย์สินของตนโดยสมัครใจ นำไปสู่ความสบายและสันติสุขในสังคม

?????????????????????????????Selections from the Writings of Abdu?l-Baha, p.115 ?พระอับดุลบาฮา

ความจนอาจทำให้ต้องดิ้นรนทำทุกอย่างเพื่อความอยู่รอด ?และอาจไม่คำนึงถึงศีลธรรมอีกต่อไปเช่นใช้ความเล่ห์กระเท่ห์ ?โกหกหลอกลวง ไม่ซื่อสัตย์ (แม้ว่าคนร่ำรวยก็อาจเป็นเช่นนี้เหมือนกัน) ซึ่งอาจทำให้คนจนเป็นที่น่ารังเกียจ ?ทำให้ผู้ที่มีใจเมตตาอาจรู้สึกขยาด ตีตัวออกห่าง ไม่อยากยุ่งด้วย ไหนเลยจะให้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ถึงจะจนอย่างไรความจนนั้นก็ไม่ควรเป็นข้ออ้างในการทำผิดศีลธรรมในรูปแบบต่างๆ ดังที่กล่าวมา ?ซึ่งพระบาฮาอุลลาห์ทรงปรามไว้ด้วยวจนะเหล่านี้ว่า :

บรรดาผู้ที่อาศัยอยู่ในวิหารของพระผู้เป็นเจ้า ?และอยู่บนที่นั่งแห่งความรุ่งโรจน์อนันต์ แม้ว่ากำลังจะอดตาย ?ก็จะไม่เอื้อมมือไปหยิบฉวยสมบัติของเพื่อนบ้านอย่างไม่ถูกกฎหมาย ?ไม่ว่าเพื่อนบ้านคนนั้นจะต่ำช้าหรือไร้ค่าเพียงใด

???????????????????????????Gleanings from the Writings of Baha?u?llah, p.298-9 ?พระบาฮาอุลลาห์

การแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นเรื่องยากมากอยู่แล้ว ?แต่จะยิ่งยากขึ้นไปอีกหากคนจนไม่มีศีลธรรม เพราะไม่ว่าจะมีโครงการอะไรเทเงินไปให้คนจนมากมายเพียงไหนก็ช่วยไม่ได้ ?มีแต่เงินจะละลายแม่น้ำหายไปหมด ถึงแม้พระบาฮาอุลลาห์จะสอนให้คนร่ำรวยมีใจอาทรต่อผู้ยากไร้ ในทางกลับกันพระองค์ก็สอนให้คนจนอดทนต่อความยากจน ?พยายามหาเลี้ยงชีพด้วยความซื่อสัตย์ และทรงรับประกันว่าคนจนที่ทำหน้าที่ดังกล่าวจะได้รับการช่วยเหลือจากพระผู้เป็นเจ้าให้ลืมตาอาปากได้

?

ดูกร ?บุตรแห่งชีวิต! ?หากความยากจนมาถึงเจ้า ?อย่าได้เศร้าใจ เพราะว่าเมื่อถึงเวลาพระผู้เป็นนายแห่งความมั่งคั่งจะมาเยือนเจ้า ?อย่ากลัวความตกต่ำ เพราะว่าวันหนึ่งความรุ่งโรจน์จะมาอยู่กับเจ้า

??????????????????????????????????????????????????????????The Hidden Words, Arabic, no.53 พระบาฮาอุลลาห์

อย่างไรก็ตามบรรดาผู้ร่ำรวยต้องมีใจอาทรต่อผู้ยากไร้ ?เพราะพระผู้เป็นเจ้ากำหนดเกียรติที่ยิ่งใหญ่ไว้ให้คนยากไร้ที่อดทนอย่างแน่วแน่ ?ชีวิตของเราเป็นพยาน! ?ไม่มีเกียรติใดเทียบได้กับเกียรตินี้ ?นอกจากเกียรติที่พระผู้เป็นเจ้าจะทรงโปรดประทานให้ ?พระพรอันยิ่งใหญ่รอคอยคนยากไร้ที่อดทนและปกปิดความทุกข์ทรมานของตน ?และความสุขสวัสดีมีแด่ผู้ร่ำรวยที่แบ่งความมั่งคั่งให้กับคนขัดสน และคำนึงถึงพวกเขาก่อนตนเอง

พระผู้เป็นเจ้าทรงโปรด ?ขอให้คนยากไร้พยายามหาเลี้ยงชีพ ?ในการเปิดเผยพระธรรมสวรรค์ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดนี้ ?นี่คือหน้าที่ที่กำหนดไว้สำหรับทุกคน และได้รับการนับว่าเป็นการกระทำที่ดีงามในสายตาของพระผู้เป็นเจ้า ?ใครที่ทำหน้าที่นี้ พระผู้ที่มองไม่เห็นจะช่วยเหลือเขาอย่างแน่นอน กรุณาธิคุณของพระองค์สามารถทำให้ผู้ที่พระองค์โปรดปรานร่ำรวย ?แท้จริงแล้วพระองค์ทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่ง

???????????????????????????Gleanings from the Writings of Baha?u?llah, p.202-3 พระบาฮาอุลลาห์

การบริจาคเงินและทรัพย์สินของคนร่ำรวยเพื่อช่วยเหลือคนยากไร้โดยตรงหรือโดยทางอ้อม ?เป็นเรื่องที่น่ายินดี ซึ่งจะช่วยบรรเทาทุกข์และเป็นการบรรเทาอาการได้ชั่วคราว แต่ถ้าหากจะขจัดความยากจนหรือลดช่องว่างระหว่างคนร่ำรวยและคนยากจนนั้นให้ได้ผลยั่งยืน ?ต้องมีการปรับเงื่อนไขของระบบเศรษฐกิจ ธรรมลิขิตบาไฮให้วิสัยทัศน์ไว้ว่า : ????

…จะมีการร่างและออกกฎของชุมชนอย่างที่จะเป็นไปไม่ได้ที่คนไม่กี่คนจะเป็นเศรษฐีเงินล้านๆ ?และคนจำนวนมากขัดสน คำสอนหนึ่งของพระบาฮาอุลลาห์คือการปรับวิธีการทำมาหากินในสังคม ภายใต้การปรับนี้จะไม่มีความสุดขีดในสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ในเรื่องของความมั่งงคั่งและสิ่งยังชีพ

A Baha?i Perspective on Economics of the Future, p.48-9 พระอับดุลบาฮา

ในสุนทรพจน์ต่างๆ ของพระอับดุลบาฮา…พระองค์กล่าวถึงหลักการทั้งหลายที่เป็นที่ตั้งของระบบเศรษฐกิจบาไฮ ?เป็นระบบที่ป้องกันการค่อยๆ เข้ามาควบคุมความมั่งคั่งไว้ในมือของคนไม่กี่คน และก่อให้เกิดสภาพความมั่งคั่งและความยากจนสุดขีด

Economics, Agriculture and Related Subjects, Compilation 2000, no.21 ท่านโชกิ เอฟเฟนดิ

แน่นอนว่าการจะปรับระบบและเงื่อนไขทางเศรษฐกิจดังกล่าว ?ต้องอาศัยความร่วมมือของคนร่ำรวยที่หัวใจถูกโน้มน้าวด้วยพลังแห่งความรัก :

ปัญหาเศรษฐกิจทั้งหมดแก้ไขได้ด้วยการใช้ศาสตร์แห่งความรักของพระผู้เป็นเจ้า

????????????????????????A Baha?i Perspective on Economics of the Future, p.13 ?พระอับดุลบาฮา

หัวใจทั้งหลายต้องเชื่อมเข้าด้วยกัน ?ความรักต้องมีพลังเหนือกว่า ถึงขนาดว่าคนร่ำรวยจะยื่นความช่วยเหลือให้แก่คนยากไร้ด้วยความเต็มใจที่สุด ?และดำเนินขั้นตอนที่จะสถาปนาการปรับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจอย่างถาวร หากทำสำเร็จโดยวิธีนี้จะเป็นที่น่าสรรเสริญที่สุด ?เพราะว่าเมื่อนั้นสิ่งนี้จะเป็นไปเพื่อเห็นแก่พระผู้เป็นเจ้า และในหนทางแห่งการรับใช้พระองค์

A Baha?i Perspective on Economics of the Future, p.48 พระอับดุลบาฮา

เคล็ดลับของปัญหาเศรษฐกิจทั้งหมดเป็นเรื่องของธรรมะซึ่งเกี่ยวพันกับหัวใจและวิญญาณ ?สิ่งนี้ได้รับการอธิบายไว้อย่างครบถ้วนในคำสอนบาไฮ และหากไม่นำคำสอนบาไฮมาพิจารณา ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะปรับปรุงสภาพเศรษฐกิจให้ดีขึ้น

????????????????????????A Baha?i Perspective on Economics of the Future, p.13 ?พระอับดุลบาฮา

โดยคำแถลง ?การแก้ปัญหาเศรษฐกิจเป็นเรื่องของธรรมะ? หมายความว่าศาสนาเท่านั้นที่ในท้ายที่สุดแล้ว ?จะสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นมูลฐานในธรรมชาติของมนุษย์ จนสามารถช่วยให้มนุษย์สามารถปรับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในสังคม ?ในหนทางนี้เท่านั้นที่มนุษย์จะสามารถควบคุมพลังอำนาจทางเศรษฐกิจที่ใกล้จะทำลายรากฐานของการดำรงอยู่ของตน และดังนี้ขึ้นมาควบคุมพลังอำนาจของธรรมชาติ

Economics, Agriculture and Related Subjects, Compilation 2000, no.26 ท่านโชกิ เอฟเฟนดิ

ข้อพิจารณาแรกคือจิตวิญญาณที่ต้องซึมซาบกิจกรรมทางเศรษฐกิจของเรา ?และสิ่งนี้จะค่อยๆ ตกผลึกเป็นสถาบันและหลักการต่างๆ ที่แน่ชัด ที่จะก่อให้เกิดเงื่อนไขตามอุดมคติที่พระบาฮาอุลลาห์ทำนายไว้…เป็นเรื่องจำเป็นมากที่คำสอนของศาสนาตามแนวนี้จะถูกนำเสนอต่อสาธารณชนในรูปแบบที่ชัดเจนและครบถ้วน

Economics, Agriculture and Related Subjects, Compilation 2000, no.23 ?ท่านโชกิ เอฟเฟนดิ

คำวิจารณ์ของคุณเกี่ยวกับความยากจน ?เน้นให้เห็นว่าสังคมต้องเปลี่ยนเจตคติของตนมากขนาดไหน ?ก่อนที่จะพบการแก้ปัญหาสังคมนั้นได้ นี้ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของเศรษฐกิจ ?การแก้ปัญหานี้พัวพันอย่างลึกกับการนำหลักธรรมมาใช้ในระดับรากหญ้าและในหมู่รัฐบาลทั้งหลาย ?นี้เป็นหน้าที่ที่ชัดเจนของบาไฮที่จะสอนศาสนาด้วยความแข็งขันอย่างไม่โรยรา

Economics, Agriculture and Related Subjects, Compilation 2000, no.33 สภายุติธรรม

การแก้ไขปัญหา (เศรษฐกิจ) เหล่านี้ไม่ได้อยู่ที่การคิดทฤษฎีที่ได้ผลในทางปฏิบัติมากนัก ?แต่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางจิตวิญญาณทั้งหมด ซึ่งจะเกิดขึ้นโดยอิทธิพลของคำสอนบาไฮที่มีต่อชีวิตของประชาชนทั่วโลกทีละน้อย ?การเปลี่ยนแปลงทางจิตวิญญาณนี้จะเป็นที่มาของการแก้ปัญหาที่แสวงหากันอย่างร้อนใจ ในระหว่างนั้นไม่มีข้อสงสัยว่ารัฐบาลทั้งหลายโดยประสบการณ์ที่ยากลำบาก ?จะดำเนินขั้นตอนต่างๆ ที่กลมกลืนกับความเป็นไปของกาลเวลา

Economics, Agriculture and Related Subjects, Compilation 2000, no.34 สภายุติธรรม